Tuesday, August 18, 2015

หอสมุดแห่งชาติ หลายคนมองข้ามไป ...สวัสดีครับ มาเริ่มกันใหม่ หลังจากหายไป 2 ปี ว่างๆ เข้ามาอ่านกันครับ

สวัสดีครับ

   วันนี้ได้ไปยืมหนังสือของสถาบันมาครับเป็นเล่มที่สอนการเขียนโปรแกรม ที่ละเอียดมาก หน้าเกือบ 2 นิ้ว มองหนังสือแล้วคิดคนทั่วไปจะมีโอกาส ได้อ่านหนังสือแบบนี้ไหม  มีสิ แต่ เล่มละ 800 กว่าบาทเมื่อ 13 ปีก่อนนะครับ ป่านนี้คง พันกลางๆ แล้วมั้ง

    แล้วมันก็คิอได้ว่า เออ ในไทยมีอะไรที่ใกล้เคียงนะ หนังสือ เทคโนโลยีดีๆ หนังสือคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ จะเล่มไหนก็ตาม ในไทย ที่มีเลข ISBN กำกับหนังสือ ลองไปเปิดดูหน้าแรกๆ เขาจะมีบอกว่า เก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ที่ไหน เลขอะไรด้วยนะครับ

  แปลว่าอะไร หากเราขยันหน่อย และอยู่ใน กทม. เราอาจยืมหนังสือดีๆ ใหม่ๆ หรือหนังสือ อื่นๆ ได้ไม่จำกัดนะครับ คนรุ่นใหม่จะรู้เรื่องนี้น้อยมากแล้ว เพราะโลกมันอยู่บนเน็ตหมดครับ

     สำหรับคนที่อยู่ต่างจังหวัด จะมี ห้องสมุดประชาชน ลองหาใน google หรือ ถามผู้ใหญ่ดูครับ รุ่น ผมยังทัน 30-45 ขวบ ถามได้ น่าจะรู้จักครับ ก็จะมีอะไรคล้ายๆ กัน อาจไม่มาก ไม่เร็ว เหมือนทางส่วนกลาง ก็มีหนังสือดีๆ ให้อ่านเพียบๆ ครับ

    อย่าปล่อยโอกาส นี้ไปครับ ใครที่สนใจศาสตร์ใดๆ หอสมุดแห่งชาติมีหนังสือทุกรูปสาขาครับผม

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)

Thursday, November 28, 2013

รู้ได้อย่างไร ว่าเข้าใจใน Syntax ต่างๆ ของโปรแกรมภาษา ได้ในระดับที่ใช้การได้แล้ว

สวัสดีครับ

    การเรียนเขียนโปรแกรม ภาษานั้น ไม่มีสิ่งใดจะบอกเราได้ว่า เรารู้ในภาษานั้น ในระดับที่ใช้การได้หรือยัง นอกจาก

   1. การได้เขียนโปรแกรมที่มีการทำงานหลากหลาย   เช่นการทำโปรเจคท์ ให้ที่ทำงาน หรือหน่วยงาน
  ข้อนี้ มีข้อดีคือ คุณจะพบ สวรรค์ และ นรก ด้วยตัวคุณเอง เพราะมี กรอบเวลาบังคับอยู่ ประสบการณ์จะเพิ่มแบบพรวดพราด หากคุณ เอาอยู่ หากทำกันหลายคน ก็ยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันหลากหลายอีกด้วย

  2. ได้ทดลองเขียน เกม สัก 1 เกม สิ่งที่อยากแนะนำมากๆ คือ เกมแนวภาษาครับ หรือที่ ฝรั่งเรียกว่า เกมแนว Adventure ที่เป็นแบบ Text Based game หรือ ในญี่ปุ่นจะเรียกว่า Visual Novels นั่นเอง

       การทำเกม แนว Text Based game นั้นยุคแรกเป็นแนวผจญภัยเป็นส่วนมาก และฮิตมากๆ ในฝั่งตะวันตกสักราวๆ 30 กว่าปีก่อนครับ เสียดายเราไม่ได้เกิดสมัยนั้น ไม่งั้น พวกเราก็เขียนเกม แนวนี้และรวยกันไปแล้วครับ ทำไมเขียนเกมแนว Text Based ที่เน้นตัวอักษร

       1.เราอาจลืมไปว่า เกม ต่างๆ ก็คือ โปรแกรม 1 โปรแกรม หากคุณเรียนโปรแกรมภาษาใดๆ ได้แล้ว คุณก็ต้องเขียน เกมได้ จริงไหม งั้นทำไม ไม่ลองเขียนล่ะ

       2.เกมแนวอักษร จะเน้นอักษรเป็นหลัก ไม่ต้องไปเรียนรู้เรื่องอนิเมชั่น 2 - 3 มิติ คือ ตัดเรื่องนี้ไปเลย เอาไว้โอกาสหน้า ครับทำให้เขียนเกมได้ไม่ยาก

    สำหรับการเขียน แนวทางก็คือ สร้างเนื้อเรื่อง ซึ่ง ส่วนมากเน้นการเดินทางของผู้กล้า ประมาณ มังกร อัศวิน เจ้าหญิง การเผชิญกับภัยต่างๆ แก้ปริศนา อะไรประมาณนี้ครับ แต่จะเขียนแนวอื่นได้ไหม ได้ครับเช่น สืบสวน สอบสวน เป็นต้น ก็จริงๆ แล้วฝรั่งเขาก็มีฉีกออกไปอีกแนว คือ Interactive Fiction หรือ นิยายแนวตอบโต้กันได้ระหว่างผู้เล่นกับเนื้อเรื่อง มีทั้งแบบ หนังสือ และแบบเหมือนเกม นี่ล่ะ เจ๋งไหม

     ถามว่าเกมแนวข้างต้น มันย้ำว่าเราเข้าใจการเขียนโปรแกรมที่ตรงไหน ?

    -เรื่อง Input เราได้เขียนในส่วน ตัวรับคำสั่ง ว่าจะให้ทำอะไร เช่น

Hello , What is your command?  ท่านต้องการสั่งอะไร
เกมแนวนี้จะตอบว่า   go north, west อะไรประมาณนี้ คือ ไปทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก เป็นต้น

  -เรื่อง Selection เช่น...
จากน้ัน พอเดินทางไป ก็ไปเจอ อะไรต่างๆ เช่น พ่อมด
What do you want? พ่อมดอาจถามแบบนี้ แล้วมี ตัวเลือกมาให้
เช่น A. Sword, B. Script, C.Holy water
อะไรประมาณนี้

-เรื่องการ สร้างเหตุการณ์สุ่ม แบบ Random ก็ต้องใช้ ฟังก์ชั่น Random เป็นต้น
-เรื่องการจัดการไฟล์ เช่น การนำข้อมูลของผู้เล่น ณ. เวลาหนึ่งๆ ไปเก็บไว้ใน Array
จากนั้น ค่อยนำลง Save ในไฟล์ ประมาณนี้ พอคราวหลังมาเล่น ก็อาจใช้ Password มาเรียกข้อมูลของ
ตัวเองแบบนี้เป็นต้น
-การเข้ารหัสข้อมูลที่ Save ไม่ให้ เราไปแอบเพิ่ม ลด เอาเอง เป็นต้น ทำเป็นเล่นไป สมัยแรกๆ ขนาดเกมมีกราฟิกสวยๆ ดังๆ ยัง Save เป็น Text File อ่านได้ Save ทับได้ ก็มีมาแล้วครับ ตอนนั้น สงสัย เกมเมอร์ยังไม่เชี่ยวเหมือนสมัยนี้ ที่เขาใช้ Bot เล่นแทนกันแล้ว (ไม่ดีครับ โกงงงง ครับ)

  จะเห็นว่า มันเอา พื้นฐานการเขียนโปรแกรม ที่สุดแล้ว ก็คือ Program Control มาใช้นั่นล่ะครับ

จึงต้องบอกว่า ต้องลองเขียนเกม แนวนี้ครับ แล้วคุณจะรู้ว่า เรียนในตำรา กับเขียนเกมเอง แล้วหา Solution หรือ การแก้ปัญหาเอง โดยคิดเองเป็นส่วนใหญ่นี่ มันน่าภูมิใจขนาดไหน :0)

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)

โปรแกรมเมอร์ ถึงจุดหนึ่งไม่ต่างไปจาก จอมเวท ที่ำกำลังร่ายมนตร์ ดูคลิปนี้ครับ

สวัสดีครับ

     ตั้งแต่ค้นคว้าเรื่อง การเขียนโปรแกรม และ ได้เห็นการแสดงผล ออกหน้าจอ คลิปนี้ถือว่า สุดยอดที่สุดแล้วครับ นี่ล่ะ เหล่าจอมเวทย์ แห่ง ศตวรรษที่ 21 ครับผม ขอให้คลิปนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่รักในการเขียนโปรแกรม ทุกคนครับ


                                                                 

                                               โปรแกรมโดย ภาษา C++ พร้อมกับ QT ครับ

สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0)
   

Wednesday, November 27, 2013

จะเรียนเขียนโปรแกรม เรียนพร้อมๆ กัน มากกว่า 1 โปรแกรมได้ไหม?

สวัสดีครับ

      คำตอบคือ ได้ แน่ๆ เพราะว่า จากประสบการณ์ ของผมนั้น ช่วงหนึ่งเคยรื้อฟื้นความรู้ ภาษาโปรแกรมต่างๆ ครับ และ พบว่า มันไม่ได้ทำให้เกิดความสับสนเลย เพราะ แต่ละ ภาษา มีรูปแบบไวยากรณ์ ที่แตกต่างกันไป แต่มีจุดร่วมเดียวกัน คือ เรื่องของ Program Control ครับ

      โปรแกรม คอนโทรลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ภาษาต่างๆ ล้วนมีกันทั้งนั้น นั่นคือ

        1.Sequence หรือการทำงานของโปรแกรม ที่เป็นไปทีละขั้น ทีละตอน ตามลำดับการทำงานที่โปรแกรมได้ถูกเราเขียนขึ้นไว้นั้นเอง ครับ

        2.Selection หรือ Decision Making คือส่วนที่ทำหน้า ที่ในการคัดเลือกหรือตัดสินใจ ว่า จะทำอย่างนั้น อย่างนี้ ตามเงื่อนไข นั่นคือ การใช้ IF Statement นั้นเอง เช่นว่า

         ถ้า มีเงินมากกว่า 10,000,000 บาท แปลว่า  รวย
         ถ้า มีเงินน้อยกว่า 10,000,000 บาท แปลว่า เกือบรวย
       
   อันนี้เขียนให้ขำๆ กันเล่นครับ เพราะนิยามคำว่ารวยนั้น ต่างกันออกไปตามแต่ เราจะพอใจ คือ ข้อ การเลือก การตัดสินใจนี่ ข้อคือ 2.

         3.การทำซ้ำ หรือ Repetition จะทำให้ โปรแกรม มีความสามารถทำงาน ที่ต้องทำซ้ำๆ จนเสร็จ แทนคนเรา เช่นการจะให้เกรด เด็กทั้งนั้น 50 คน หากต้องเปิดโปรแกรมแล้วปิดโปรแกรม 50 รอบ ก็คงไม่ไหวใช่ไหมครับ แต่หากเปิดโปรแกรมรอบเดียว แล้วให้โปรแกรมทำงานให้เรา 50 ครั้ง แบบนี้ เราก็สบาย เช่น
เอาคะแนนคนแรกใส่ไปแล้วตามด้วยคนต่อไปๆ จนครบ 50 คน แล้วก็ เสร็จงานแบบนี้ และทำอย่างอัตโนมัติ ก็ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นอย่างมากจริงไหมครับ


          ว่ากันว่า โปรแกรมแทบทุกภาษาในโลกนี้จะมีรายละเอียดประมาณนี้ ดังนั้น การทำงานของโปรแกรมจึงคล้ายๆกัน หากภาษาอยู่ในระดับเดียวกัน สำหรับคนที่เคย ชำนาญภาษาใดมาก่อน จะเรียนอีกภาษาได้ง่ายมาก เพราะ เหมือนว่า เราคิดอะไร จากชนชาติไหน ก็คิดคล้ายกัน แต่ว่า การสื่อสาร ต้องเป็นภาษาในชาติของเขา พอมาเรียนภาษาต่างชาิติ ก็อาจจะยากหน่อย แต่ไม่นาน ก็จะทำได้ เพราะ ในภาษาคอมพิวเตอร์ นั้น ใช้เวลาไม่นานเลยครับ เพราะเป็นภาษาสั่งงานทำตามคำสั้ง ที่ไม่ได้ ต้องหัดพูดเป็นประโยค ยาวสั้นสมบูรณ์ อย่างภาษาของมนุษย์เราครับ

         ดังนั้นการหัดภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาที่สองจึงไม่ยาก เพียงปรับไวยากรณ์ภาษานิดหน่อยก็เริ่มได้แล้ว เพียงแต่ ที่ยากคือ การศึกษาจุดเด่น ลักษณะอะไรที่พิเศษของแต่ละภาษาต่างหากที่เป็นความท้าทายครับ จึงขอบอกว่า หากเรามีตารางในการหัดเขียนโปรแกรมที่ชัดเจน เราสามารถหัดเรียนไปพร้อมๆ กันได้เลย เรียนไปถึงไหนก็ให้คั่นเอาไว้เดี๋ยวจะงงครับ

         ผมเคยหัดพร้อมๆ กัน  4 ภาษามาแล้วครับ ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรครับผม แม้จะไปอย่างช้าๆ แต่ ช้าแล้ว ได้แก้ว ครับ :0)

         แต่หากจะถามผมว่า ภาษาแรกน่าจะเรียนภาษาอะไร ผมขอแนะนำเป็นการส่วนตัวว่า ภาษา ไพธอน หรือ Python ครับ เพราะมันเข้าใจง่าย ไวยากรณ์ เครื่องหมาย ก็น้อยมากๆ คือ เกือบจะเหมือนภาษาพูดที่สุดแล้วครับ ยกเว้นเรื่อง การย่อหน้า หน่อยเดียว ที่หากครูไม่สนใจ คุณก็อาจจะลงคลองไปเลย แต่ผมมีคลิปสอนครับ ดูที่ มุมขวาบนของบล็อกครับ ตามนั้นเลยครับ ง่ายมากกกกก

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)
       

Thursday, November 21, 2013

สวัสดีครับ วันนี้คุยเรื่อง เรียนเขียนโปรแกรมแล้ว ควรรู้อะไรบ้าง สำหรับน้องใหม่ครับ :0) ตอน 1/2

สวัสดีครับ

   ก่อนอื่นขอแก้ตัวก่อนว่า ที่ผมชะลอการอัฟเดตบล็อกนี้ไปค่อนข้างหลายวัน เพราะว่า ผมเกิดความสับสนนึกว่า เป็นอีกบล็อกหนึ่งที่ผมเขียน เนื่องจากเนื้อหาเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์เหมือนกัน เลยพลาดจนได้ครับ :0)

    วันนี้ก็ขอนำแนวคิดที่คิดจะเขียนไว้ตั้ง วันก่อนมาเขียนให้อ่านกัน นั่นคือ การเรียนเขียนโปรแกรมแล้ว เราควรเรียนรู้อะไร และ ควรทำอะไรได้บ้างครับ ดังนี้

    การเขียนโปรแกรม อย่ามัวแต่เลือกครับว่าจะเรียนตัวไหน ตัวนี้ดี ตัวนั้นไม่ดี จริงๆ แล้ว ภาษาโปรแกรมเขาก็คล้ายๆ กันหมดครับ เพียงแต่ จะมีเน้นว่า เป็นการเขียนโปรแกรมแบบ โครงสร้าง หรือ Structure Programming  และ OOP (Object-Oriented Programming) ก็เท่านั้นเอง โดยมี ภาษาที่อยู่ตรงกลาง อย่าง C++  ก็มีครับ คือ จะเขียนแบบ C ธรรมดา ก็ได้เช่นกัน

    หรือเอาแบบแรงๆ อย่าง Java นี่ก็ได้ ขนาดโปรแกรม แรก ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ให้แสดงผลว่า Hello, World ก็เข้า Class กับ Method กันแล้ว คือ OOP ชัดจ๋ามาเลย ก็มีครับ

    นอกจาก C++ แล้ว มีโปรแกรมอื่นไหม ที่เราคุ้นหูกัน ก็นี่เลยครับ Python นี่ล่ะครับ ถ้าเอากันจริงๆ แล้ว มีคนบอกว่า Python มีความเป็น OOP มากกว่า C++ นะครับ ทำไม? ลองถาม อาจารย์ กู กันเองครับ หมายถึง google.com นั่นเอง

    ยังมีอีกหลายภาษา ที่ผมไม่กล่าวถึงก็ขออภัยบรรดาเซียนๆ ด้วย รวมทั้งน้องใหม่ ที่กำลังเรียนภาษาใดอยู่ก็ตาม ผมขอนับถือ ทุกการตัดสินใจครับ เพราะ

              "จะเรียนภาษาอะไร ขอให้รักจริง เรียนรู้ให้สุดกำลัง และยั่งยืนครับ"

    ทำไมผมกล่าวเช่นนั้น นั่นเพราะว่า ผมสังเกตุจากการที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมาก่อน และผมว่า การที่เรากล้าฝึกภาษา โดยกล้าคุยกับคนนานาชาติ ตอนเรียนนั้น มันทำให้เห็นเลยว่า เรามีการพัฒนา แบบ รวดเร็ว

   ภาษาคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันครับ คุณคิดว่า ภาษา COBOL นี่เก่าใหม่ แน่ละ เก่าสุดๆ คุณคิดว่า ภาษา Fortran นี่เก่าใหม่ เก่าอย่างมาก แต่ทราบไหมครับ NASA ยังใช้อยู่ และ COBOL ก็ยังมีใช้ในภาคธุรกิจเหมือนเดิม ล่าสุดเหมือนมีคนเรียนเพิ่มขึ้นด้วย ทำไมครับ นั่นเพราะ 2 ภาษานี้ ออกแบบมาเพื่องานที่เฉพาะเจาะจง ครับ COBOL เน้นด้านธุรกิจ Fortran เน้นด้าน คำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ ครับ

    ขณะที่ภาษาสมัยใหม่นั้น อย่าง C, C++, ADA, Python, Ruby, Java และือื่นๆ นั้น จะเป็น General Purpose Programming เสียส่วนใหญ่ จริงอยู่ ตอนนี้ Java มี ทั้ง ME,SE,EE แถม ยังมี Embedded อีกต่างหาก แต่ก็ยังทิ้งความเป็น General ไม่ได้ครับ คือทั่วไป ครอบคลุมน่ะครับ นี่ยังไม่นับตระกูล Visual ต่างๆ อีกนะครับ ที่เน้นทำงานบน Windows

    แนวทางในการเรียนรู้ ควรเป็นแบบนี้ครับ

1. อย่ากลัวที่จะเริ่ม ความยากของการเริ่มหัดเขียนโปรแกรมก็มีดังนี้
     
      -คิดว่าตัวเองทำไม่ได้
      -ไม่รู้จะหาบทเรียนที่ไหน (ผมทำคลิปให้เรียนแล้วนะครับ :0) )
      -เริ่มยังไง งง
       และอื่นๆ

     การเริ่มเขียนโปรแกรม นี่มันมีจุดอ่อน ร่วมอยู่ 1 ข้อคือ หนังสือ หรือ ตำรา แม้กระทั่ง ระบบสากลนั้นหลายเล่ม นึกเอาเองว่า คนเพิ่งเริ่มต้องรู้เอง ว่าจะหา ตัว Compiler หรือ Interpreter ที่ไหน บางคนซื้อหนังสือ มาตั้งหลายร้อย มั่นใจมาก พอมาอ่าน ก็งง
                      "ตำราเขาบอกว่า ต้อง คอมไฟล์ แล้ว อะไรคือ คอมไพล์ หว่า"

     นี่ล่ะครับ หญ้าปากคอกแท้ๆ และนี่คือ จุดอ่อน ที่ทำให้หลายคน ขยาดไม่อยากแตะหนังสือการเขียนโปรแกรม ครับ

     จีงต้องบอกไว้ตรงนี้เลยครับ เอา 3 ภาษานะครับ ก่อนคุณจะซื้อหนังสือ หรือ ตำรานะครับ ต้องติดตั้ง ตัว Compiler (+ตัว Editor เอาไว้เขียนโปรแกรมนั่นล่ะ จะมาด้วยกันเลย ) ดังนี้

1. ภาษา C, C++ แนะนำให้ใช้ ของ Classic ตัว Turbo C++ 3.0 ครับ แม้จะออกมาก่อน มาตรฐาน ภาษาแต่มันคือ ความคลาสิคครับ จะใช้ Eclipse หรือ Netbeans ก็แล้วแต่ครับ แต่ผมชูตัวนี้
เพราะว่า หากเราเขียนบน Turbo C++ 3.0 ได้ มันจะได้ประสบการณ์เพิ่มครับจากการที่ต้องดูแล Code ด้วยตนเอง และเราจะมาใช้ ตัว Eclipse กับ Netbeans ทีหลังก็ยังได้ครับ  อีกประการ เรื่องกราฟิก ความเจ๋งอื่นๆ อย่าได้ดูถูกนะครับ หากคุณยังไม่รู้จัก QT ที่เป็นตัวช่วยเรื่อง กราฟิก ทำให้ C++ ทำกราฟิกไม่แพ้ใครก็แล้วกัน คือหัดจากตัวภาษาชั้นสูง พื้นฐานแล้วหัดใช้กับ ตัวช่วย มันจะทำให้เรา ได้ฝึกอะไรเยอะกว่าครับ แต่ความเห็นของผม ไม่ใช่ว่าต้องถูก 100 % นะครับ
 
     ไป Download ตัว คลาสิคไ้ด้ที่ http://konthaihappy.com/turboc.zip ครับ

 Note: เชื่อไหมกว่าผมจะหาเขาพบ อย่างนานครับ ไม่ทราบว่าทำไม หรือเพราะของเก่าล่ะมัง :0)
         (กำลังจัดทำคลิปบทเรียนครับ ลองดูตำแหน่งเดียวกับของ Python)



2. ภาษา Python ก็ไปหาตัว Interpreter ของเขาได้ที่ http://www.python.org/download ครับ หากจะเรียนตามคลิปที่ผมทำไว้ ก็ใช้ ของเวอร์ชั่น 2.x ครับ หรือ ตั้งแต่ 2.2 ไปถึง 2.5 สำหรับ 2.6 และ 2.7 นั้นให้ระวังเพราะชุดคำสั่ง print"ใส่ข้อความที่นี่" จะกลายเป็นฟังก์ชั่นไปเป็นที่เรียบร้อยคือ print("") คือคุณจะ Interpret ไม่ผ่านครับ หากพิมพ์ตามที่ผมสอนไว้ โปรแกรมจะไม่ทำงาน ถ้าคุณไม่เปลี่ยนตามที่ผมบอก ครับผม (มีคลิปบทเรียนที่ผมทำไว้ ดูด้านขวามือ บนๆ ของบล็อกนี้ครับ)

3.ภาษา Java อันนี้ สบายๆ ครับ คือ ของเขามาตรฐานสูงอย่างมาก เพราะ มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ ลุยเข้าไปวงการ Hardware อีกต่างหาก มี Device ทั่วโลก เช่น มือถือ เราเตอร์ และอะไรก็ตามที่มีชิปคอมพิวเตอร์ฝังในวงการ ไม่ว่าจะวงการไหน ใช้ Java ไปแล้วกว่า 3000 ล้าน Device ด้วยกัน ต่อไป Java คงยึดโลก ล่ะครับ ตอนนี้ แพ้ก็แต่ พี่ใหญ่ C กับ C++ เท่านั้น ต้องรู้ครับ ภาษาเหล่านี้
(กำลังจัดทำคลิปบทเรียนครับ ลองดูตำแหน่งเดียวกับของ Python)
   
       ภาษานั้นคล้ายกับ C และ C++ ตรงที่ มีเขียนแล้ว ย้ายจากระบบปฏิืบัติการหนึ่ง (O.S.) ไปอีกที่หนึ่ง อาจจะไม่ต้องเขียนใหม่เลยแม้แต่บรรทัดเดียว คือเขียนที่เดียวแล้วปลอดภัยสบายใจไปแปดอย่างครับ หากมองความชัวร์ แล้ว Java อาจจะชัวร์กว่า นั่นเพราะ เขาทำงานบน JVM หรือ ระบบเสมือนของ Java
ที่ครอบ ตัว OS ไว้อีกที ดังนั้น Java ย่อมทำงาน บน JAVA Virtual Machine ได้แนบเนียนสนิทกว่า แน่นอนครับ แต่ C กับ C++ ไม่ได้มีตัว VM แบบนี้มาแต่แรก ครับ ก็น่าคิด จริงๆ ผมมองว่า JAVA หากพิจารณาตามนิยามแล้ว เขาอยู่ตรงกลาง ระหว่าง

       ภาษาสคริปต์ และ ภาษาโปรแกรมมิ่งจริงๆ นะครับ อ้าว ตกลง สีเทา หรือ ฮ๋ะๆๆๆ ไม่หรอกครับของเขาดีขนาดนี้

       หรือมองอีกแบบ JVM นั่นก็เหมือน Web Browser นั่นล่ะ จริงไหม? ลองคิดกันดูครับ ปรัชญาการทำงาน เหมือน IE, Chrome, Opera อย่างกับแกะเลยครับ ขอบคุณท่าน ทิม เบอร์เนอร์ลี (Tim Berners Leeไว้นะที่นี้ :0) หากไม่มีท่าน โลกนี้จะเป็นอย่างไรหนอ ท่านนี้เป็น บิดาของ WWW ครับ

        ไปดาวโหลดตัวพัฒนา Java ที่นี่ครับ  http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/jdk7-downloads-1880260.html

    (ณ. พฤษจิกายน 2556 นะครับ)  หากไม่พบ ก็หาด้วยคำว่า JDK ครับ
อย่าลืม กดยอมรับ  Accept License Agreement ด้วยนะครับ

 วันนี้ยาวไปหน่อย ขอจบไว้เท่านี้ก่อน เดี๋ยวมาต่อ ตอนที่ 2 วันหลังครับผม 

สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0) 
 

Tuesday, November 12, 2013

Python Programming by P'Ball: Lesson 4. IF Statement #2 and While Loop.

สวัสดีครับ

    คลิปบทเรียนนี้ จัดเต็ม 52 นาทีกว่า ๆ ทำไปได้ครับ :0)

 
          ในบทเรียนนี้ ผมได้บรรยายเพิ่มในส่วนของ IF Statement ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ เลือก หรือ ตัดสินใจให้กับตัวโปรแกรม โดยแสดงให้เห็นความสำคัญของการ จัดทำ IF Statement ที่ ครอบคลุม เพราะถ้าเราไม่สังเกตุ แม้โปรแกรมจะทำงานได้ ตามปกติ แต่ก็มีจุดที่ผิดพลาดอยู่ดี

          ขณะที่ ยังได้ แนะนำ เรื่องของการทำซ้ำ โดยใช้ ชุดคำสั่ง While Loop ซึ่งจะทำหน้าที่ ทำซ้ำให้กับตัวโปรแกรม เพื่อได้มาซึ่งผลของการคำนวณ ค่าตัวแปร หรือ อะไรอื่นใด ตามที่ตัวโปรแกรมต้องการ จากนั้น จึงคืนค่ากลับให้กับตัวโปรแกรมหลัก

         เมื่อนักเรียนได้ ศึกษา พื้นฐานการเขียนโปรแกรม เป็นขั้นตอน , การเขียนโปรแกรมเพื่อเลือกหรือตัดสินใจ โดย If และ การเขียนโปรแกรมให้ทำซ้ำ โดย Loop ได้แล้ว ก็นับว่า มีความสามารถพอที่จะเป็นโปรแกรมเมอร์ ที่พัฒนาโปรแกรมได้แล้วระดับหนึ่งครับ

    หมายเหตุ: บทเรียนนี้อธิบาย การวน Loop จาก While อย่างละเอียด ให้เวลาค่อนข้างมาก ซึ่งนักเรียนที่ ศึกษาโปรแกรมภาษาอื่นอยู่ ก็สามารถ นำไปใช้งานได้

                             

"สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย โดยคุณบอลล์"

เผยแพร่บทเรียน เมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 

 หมายเหตุ: สถานศึกษา, สถาบันการศึกษา, องค์กร และ หน่วยงานอื่นใด สามารถนำคลิปบทเรียนต่างๆ ของผม ไปใช้ในการศึกษาความรู้ตามเนื้อหาในคลิปนั้นๆ สำหรับหน่วยงานหรือบุคลากรได้ โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ  โดยอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ห้ามนำไป ทำประโยชน์ทางการค้าในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น 

         *** หน่วยงาน, องค์กร, สถาบันต่างๆ ที่มีการนำบทเรียนไปเผยแผ่ ตาม หมายเหตุ ข้างต้น ***
                         ขอความกรุณาแจ้งให้ผมได้ทราบ ที่ psirball@hotmail.com  :0)


  ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ครับ
คุณบอลล์ :0)

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้
สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0)