Wednesday, October 9, 2013

ช้าไปแล้ว ช้าเกินกว่าจะเป็นโปรแกรมเมอร์ ที่เก่งได้ คนไอทีหลายคนคิดแบบนี้

สวัสดีครับ

   สมัยผมเรียน ชั้นมัธยม จะได้ข่าวว่า นักเรียนไทยไปได้เหรียญทองแดง คอมพิวเตอร์โอลิมปิก จากการแข่งขันระดับโลก เขาอายุพอๆ กับผม และจริงๆ แล้ว เราได้เรียนปริญญาตรี ในสถาบันเดียวกันในภายหลังอีกด้วย เพียงแต่ ผมรู้ว่าเขาเป็นใคร ขณะที่เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ จำเขาไม่ได้ 

    สมัยนั้นการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องที่ใครๆ ก็ทำได้ เพราะยังมีข้อจำกัดเรื่อง ราคาเครื่อง ซึ่งคอมพิวเตอร์  PC ตั้งโต๊ะ ราคาขั้นต้นนี่ ก็ ราวๆ 3-4 หมื่นกว่าบาท ตอนนั้น Harddisk  700 M. นี่ ขอโทษนะครับ โคตรเท่  เด็กๆ สมัยนี้ ได้ยินคงตกใจจนหล่นเก้าอี้... จะพอได้ไง แค่รูปถ่าย ก็เต็มไป 5 รอบแล้ว ตอนนั้นใครได้ใช้ Windows 3.0 นี่อย่างเท่ครับ 

     ใครที่ใช้ DOS เป็น และใช้คล่อง จะเป็นเทพในสายตาเพื่อนๆ DOS คืออะไร ใครไม่ทราบ มันคือระบบ ปฎิบัติการชนิดหนึ่งครับ ใช้ในการจัดการไฟล์ ระบบ เหมือน Windows นี่ล่ะ แต่ว่า เป็น command line หรือ ต้องเขียนคำสั่ง บอกให้คอมพิวเตอร์ เข้าใจว่า จะให้เขาทำอะไร ใครอยากเห็น DOS เป็นอย่างไร ลองดูใน google ได้ ผมเชื่อว่า บางคนเพิ่งได้ยิน คำว่า DOS ก็วันนนี้ล่ะ

     เพื่อนผมคนที่กล่าวข้างต้น เก่งจริงๆ เขาเขียนภาษาที่ใช้งานบนเน็ตได้ และ มันใช้งานได้จริง ในสมัยที่ อินเตอร์เน็ต เิพิ่งเข้ามาในไทยได้ไม่กี่ปี ยุคแรกของไทยเลยครับ ยังได้ดูแลระบบของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ตอนนี้ก็ไปทำงานเป็นระบบอาวุโส ในบริษัทระดับชาติเป็นที่เรียบร้อย 

    หลายๆ คนอาจจะมีเพื่อนๆ ที่เก่งแบบนี้ ซึ่งก็หลากหลายกันไป แต่ ความเก่งของเขานั้น ไม่ใช่เรื่องที่เราสร้างไม่ได้นะครับ นี่คือจุดที่ผมอยากจะเขียนในบทความนี้

   -คุณเคยรู้สึกไหมว่า ไม่อยากหัดเขียนโปรแกรม เพราะ ดูว่า มันคงไม่เก่งเท่าคนอื่น
   -หัดเขียนไปก็คง ไม่ทำงานกับเขาไม่ได้
   -ไม่มั่นใจในตัวเอง เพราะคิดว่า เรามีความรู้ในการโปรแกรมน้อยเกินไป

   และอื่นๆ อีกมากไป

  บางคน คิดต่างออกไปอีกว่า การเขียนโปรแกรมมันยาก ยิ่งในไทยนี่ ลูกค้า ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการออกแบบ Software จะเอาโน่น นี่ นั่น ทำแล้วกลัวทำไม่จบ 

   แต่เขาอาจลืมไปว่า ลูกค้าจะยุ่งขนาดไหน มันก็คือ ประสบการณ์ครับ พอมากเข้า เราก็เจอมาหมดแล้วจะขนาดไหนก็รับไว้ และ หลายคนยังลืมไปว่า  โลกของการเขียนโปรแกรม มันคือการ Reuse ครับ

  Reuse ทั้งจากโปรแกรมเดิมที่ทำมาก่อน เอามาปัดฝุ่นได้ตลอด ปรับนั่น นี่ นิด ก็ใช้ใหม่ได้เลย แล้วมันก็ไม่ต้องไปแบกหาม มันแค่ Copy และ Paste จริงไหม ส่วนการทำ โปรแกรมระดับใหญ่ๆ แบบรับงาน อะไรพวกนี้ ความยากมันจะลดไปเรื่อยๆ ในเรื่อง การประดับประดา เช่นทำฟอร์ม แบบนั้น นี้ มีระบบนั่นนี่ จนเมื่อทำเสร็จ มันจะกลายเป็นมาตรฐานติดตัวเราไปเอง ไม่ยากอีกต่อไป แต่ ไอ้ที่ยากจริงๆ คือ การแก้ปัญหาของ งานที่ได้มา ในแบบ อัลกอริทึ่มต่างหากครับ โดยเฉพาะ หากมีเรื่อง ตัวเลขเข้ามา แต่มันก็ไม่ยาก หากเรา มีที่ปรึกษา หรือเราอาจถามจาก สังคมในเน็ตก็ได้ เอาเป็นว่า เชื่อผมครับ หากทำไปสักพัก ผ่านงาน ยากๆ ไม่เกิน 3-5 โครงการ ที่เหลือ ก็หวานหมูแล้ว ขอให้มันเป็น งานที่ท้่าทายหน่อยก็แล้วกัน

    ตัวผมเองผ่านการเผชิญการเขียนโค้ดมาแบบ ไม่มีหัวหน้างาน หรือ รุ่นพี่ ทำให้มีประสบการณ์ ตื่นเต้นตลอดเวลา ต้องคิดหา ทางออก ทางแก้ หรือ Solution เองค่อนข้างมาก เช่น ในสมัยที่ google ยังต๊อกต๋อย เด็กๆ เจ้านายเกิดอยาก จะโชว์ แผนที่บนเว็บ ทำให้ ผู้ดูงา่น ทึ่ง ต้องการให้ในแผ่นเพจเดียวกัน
กดบริเวณนี้ ไปที่นั่น กด อีกบริเวณไม่อีกที่ ผมคิดเอเอาไงดี จะใช้ Map หรือ มันยุ่งยาก ตอนนั้น ตัวช่วยทำเว็บยังหาได้น้อยมาก ดรีม วีพเวอร์ เหรอ ฝันไปเถอะ ผมเลยคิดหาวิธีอยู่พัก ก็ได้อะไรง่ายๆ สร้าง Table ขึ้นมาด้วย html ง่ายๆ แล้วพรางไม่ให้เห็น Border จากนั้น ให้ Cellpadding กับ Cellspacing เป็น 0
แล้วเรียกรูปขึ้นมา จัดหน้าให้อยู่ใน center จัด Tag <img src=""> คลุมรูปไว้ เรียบร้อยครับ สร้างความฮือฮาให้ ผู้มาดูงาน ได้พอควร ทั้งๆ ที่ผมใช้ สคริปต์ธรรมดาๆ นี่ล่ะ

   สมัยนั้นมันเป็นยุึดของการพึ่งตนเองค่อนข้างมากครับ แต่เราก็ไม่อยู่เฉย รู้จักตั้งคำถามนานาประการแล้วก็ ทดลองค้นคว้าเอง เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่ตกเทรนด์ครับ ผ่านไปราวๆ 3 ปี กับการทำงาน ตอนนั้นเป็น Webmaster ให้หน่วยงาน ผมก็พบว่า ด้วยความที่เราศึกษาตลอดเวลา ทำให้ เราสามารถนำความรู้ทั้งที่เรียนมา แลกเปลี่ยนค้นคว้ามา ตอบสนองงานได้แทบทุกรูปแบบ คือ หายกลัว การมอบหมายงานใหม่ๆ ไปเอง เพราะเหมือนที่ผมบอกไว้ช่วงต้น มันจะยาก จะเยอะขนาดไหน วันหนึ่ง มันก็มีการวนกลับมาทีเดิม คือ ครบรอบ มันไม่มีมากกว่านั้นครับ 

    ผมก็ตกใจ เมื่อนึกว่า ตอนนี้ เราค่อนข้างชำนาญอะไรที่เกี่ยวกับ เว็บเป็นพิเศษแล้ว สิ่งเหล่านี้มาจากประสบการณ์ครับ

    หากน้องๆ ลองมาเทียบกับผม น้องๆ อาจจะคิดว่า หากเรื่องทำ เว็บ นี่คงสู้พี่เขาไม่ได้ แต่อย่าเชื่อแบบนั้นครับ วงการอินเตอร์เน็ตไทย เพิ่งมาบูมราวๆ ปี ค.ศ. 1995-96 นี่เอง ก็ถึงตอนนี้มันก็ 17 ปีแค่นั้น ในเวลาไม่ถึง 20 ปี แบบนี้ มันไม่ได้ทำให้ใคร เทพกว่าใครหรอกครับ เพียงแต่เราต้องพื็นฐานแน่นๆ หน่อย คำสั่ง <tag> สำคัญ ควรใช้ได้คล่อง แบบนี้ แต่อะไรที่ลึกไปกว่านั้น ก็เปิดคู่มือได้ ไม่ผิด ที่สำคัญควรรู้ว่า แก้โค้ดด้วย html พื้นฐานได้อย่างไร ต้องทำได้ครับ 

    อีกอย่าง คนที่ทำเว็บมา 17 ปี หากมีคนพูดแบบนี้ ต้องถามเขาว่า พี่ยังโค้ดเองไหม ส่วนมากหากเป็น ผุ้จัดการ หัวหน้างานไปแล้ว จะสั่งอย่างเดียว แต่ไม่ได้ทำแล้ว ซึ่งผมว่า มากกว่าครึ่ง ลืมการเขียนเว็บเพจไปแล้ว หรือ ทำได้ไม่คล่องแล้ว นี่คือ น่าเสียดายครับ

   เพราะการทำเว็บ มันมีอะไรมากมายครับ มีเรื่องให้ศึกษาได้ไม่รู้จบครับ

  จึงต้องขอบอกว่า การเขียนโปรแกรม เรียนทันกันได้ครับ เพราะคนที่เรียนมาก่อน หากหยุด ห่างจากวงการและไม่ โค้ดอย่างสม่ำเสมอ กรณีนี้คือ ไม่ควรเกิน 6 เืดือน มักจะลืมเลือน ดังนั้น คนที่หยุดไปแล้ว สิ่งที่ยังอยู่คือ ประสบการณ์ ส่วนทักษะการโค้ด ต้องทำประจำครับ เราจึงสามารถหัดเขียนโปรแกรมได้ เริ่มเมื่อใดก็ได้ และสามารถเก่งได้ ใน 1-2 ปี ครับผม เชื่อผม คุณทำได้ครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ 




     

No comments:

Post a Comment