Thursday, November 28, 2013

รู้ได้อย่างไร ว่าเข้าใจใน Syntax ต่างๆ ของโปรแกรมภาษา ได้ในระดับที่ใช้การได้แล้ว

สวัสดีครับ

    การเรียนเขียนโปรแกรม ภาษานั้น ไม่มีสิ่งใดจะบอกเราได้ว่า เรารู้ในภาษานั้น ในระดับที่ใช้การได้หรือยัง นอกจาก

   1. การได้เขียนโปรแกรมที่มีการทำงานหลากหลาย   เช่นการทำโปรเจคท์ ให้ที่ทำงาน หรือหน่วยงาน
  ข้อนี้ มีข้อดีคือ คุณจะพบ สวรรค์ และ นรก ด้วยตัวคุณเอง เพราะมี กรอบเวลาบังคับอยู่ ประสบการณ์จะเพิ่มแบบพรวดพราด หากคุณ เอาอยู่ หากทำกันหลายคน ก็ยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันหลากหลายอีกด้วย

  2. ได้ทดลองเขียน เกม สัก 1 เกม สิ่งที่อยากแนะนำมากๆ คือ เกมแนวภาษาครับ หรือที่ ฝรั่งเรียกว่า เกมแนว Adventure ที่เป็นแบบ Text Based game หรือ ในญี่ปุ่นจะเรียกว่า Visual Novels นั่นเอง

       การทำเกม แนว Text Based game นั้นยุคแรกเป็นแนวผจญภัยเป็นส่วนมาก และฮิตมากๆ ในฝั่งตะวันตกสักราวๆ 30 กว่าปีก่อนครับ เสียดายเราไม่ได้เกิดสมัยนั้น ไม่งั้น พวกเราก็เขียนเกม แนวนี้และรวยกันไปแล้วครับ ทำไมเขียนเกมแนว Text Based ที่เน้นตัวอักษร

       1.เราอาจลืมไปว่า เกม ต่างๆ ก็คือ โปรแกรม 1 โปรแกรม หากคุณเรียนโปรแกรมภาษาใดๆ ได้แล้ว คุณก็ต้องเขียน เกมได้ จริงไหม งั้นทำไม ไม่ลองเขียนล่ะ

       2.เกมแนวอักษร จะเน้นอักษรเป็นหลัก ไม่ต้องไปเรียนรู้เรื่องอนิเมชั่น 2 - 3 มิติ คือ ตัดเรื่องนี้ไปเลย เอาไว้โอกาสหน้า ครับทำให้เขียนเกมได้ไม่ยาก

    สำหรับการเขียน แนวทางก็คือ สร้างเนื้อเรื่อง ซึ่ง ส่วนมากเน้นการเดินทางของผู้กล้า ประมาณ มังกร อัศวิน เจ้าหญิง การเผชิญกับภัยต่างๆ แก้ปริศนา อะไรประมาณนี้ครับ แต่จะเขียนแนวอื่นได้ไหม ได้ครับเช่น สืบสวน สอบสวน เป็นต้น ก็จริงๆ แล้วฝรั่งเขาก็มีฉีกออกไปอีกแนว คือ Interactive Fiction หรือ นิยายแนวตอบโต้กันได้ระหว่างผู้เล่นกับเนื้อเรื่อง มีทั้งแบบ หนังสือ และแบบเหมือนเกม นี่ล่ะ เจ๋งไหม

     ถามว่าเกมแนวข้างต้น มันย้ำว่าเราเข้าใจการเขียนโปรแกรมที่ตรงไหน ?

    -เรื่อง Input เราได้เขียนในส่วน ตัวรับคำสั่ง ว่าจะให้ทำอะไร เช่น

Hello , What is your command?  ท่านต้องการสั่งอะไร
เกมแนวนี้จะตอบว่า   go north, west อะไรประมาณนี้ คือ ไปทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก เป็นต้น

  -เรื่อง Selection เช่น...
จากน้ัน พอเดินทางไป ก็ไปเจอ อะไรต่างๆ เช่น พ่อมด
What do you want? พ่อมดอาจถามแบบนี้ แล้วมี ตัวเลือกมาให้
เช่น A. Sword, B. Script, C.Holy water
อะไรประมาณนี้

-เรื่องการ สร้างเหตุการณ์สุ่ม แบบ Random ก็ต้องใช้ ฟังก์ชั่น Random เป็นต้น
-เรื่องการจัดการไฟล์ เช่น การนำข้อมูลของผู้เล่น ณ. เวลาหนึ่งๆ ไปเก็บไว้ใน Array
จากนั้น ค่อยนำลง Save ในไฟล์ ประมาณนี้ พอคราวหลังมาเล่น ก็อาจใช้ Password มาเรียกข้อมูลของ
ตัวเองแบบนี้เป็นต้น
-การเข้ารหัสข้อมูลที่ Save ไม่ให้ เราไปแอบเพิ่ม ลด เอาเอง เป็นต้น ทำเป็นเล่นไป สมัยแรกๆ ขนาดเกมมีกราฟิกสวยๆ ดังๆ ยัง Save เป็น Text File อ่านได้ Save ทับได้ ก็มีมาแล้วครับ ตอนนั้น สงสัย เกมเมอร์ยังไม่เชี่ยวเหมือนสมัยนี้ ที่เขาใช้ Bot เล่นแทนกันแล้ว (ไม่ดีครับ โกงงงง ครับ)

  จะเห็นว่า มันเอา พื้นฐานการเขียนโปรแกรม ที่สุดแล้ว ก็คือ Program Control มาใช้นั่นล่ะครับ

จึงต้องบอกว่า ต้องลองเขียนเกม แนวนี้ครับ แล้วคุณจะรู้ว่า เรียนในตำรา กับเขียนเกมเอง แล้วหา Solution หรือ การแก้ปัญหาเอง โดยคิดเองเป็นส่วนใหญ่นี่ มันน่าภูมิใจขนาดไหน :0)

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)

โปรแกรมเมอร์ ถึงจุดหนึ่งไม่ต่างไปจาก จอมเวท ที่ำกำลังร่ายมนตร์ ดูคลิปนี้ครับ

สวัสดีครับ

     ตั้งแต่ค้นคว้าเรื่อง การเขียนโปรแกรม และ ได้เห็นการแสดงผล ออกหน้าจอ คลิปนี้ถือว่า สุดยอดที่สุดแล้วครับ นี่ล่ะ เหล่าจอมเวทย์ แห่ง ศตวรรษที่ 21 ครับผม ขอให้คลิปนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่รักในการเขียนโปรแกรม ทุกคนครับ


                                                                 

                                               โปรแกรมโดย ภาษา C++ พร้อมกับ QT ครับ

สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0)
   

Wednesday, November 27, 2013

จะเรียนเขียนโปรแกรม เรียนพร้อมๆ กัน มากกว่า 1 โปรแกรมได้ไหม?

สวัสดีครับ

      คำตอบคือ ได้ แน่ๆ เพราะว่า จากประสบการณ์ ของผมนั้น ช่วงหนึ่งเคยรื้อฟื้นความรู้ ภาษาโปรแกรมต่างๆ ครับ และ พบว่า มันไม่ได้ทำให้เกิดความสับสนเลย เพราะ แต่ละ ภาษา มีรูปแบบไวยากรณ์ ที่แตกต่างกันไป แต่มีจุดร่วมเดียวกัน คือ เรื่องของ Program Control ครับ

      โปรแกรม คอนโทรลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ภาษาต่างๆ ล้วนมีกันทั้งนั้น นั่นคือ

        1.Sequence หรือการทำงานของโปรแกรม ที่เป็นไปทีละขั้น ทีละตอน ตามลำดับการทำงานที่โปรแกรมได้ถูกเราเขียนขึ้นไว้นั้นเอง ครับ

        2.Selection หรือ Decision Making คือส่วนที่ทำหน้า ที่ในการคัดเลือกหรือตัดสินใจ ว่า จะทำอย่างนั้น อย่างนี้ ตามเงื่อนไข นั่นคือ การใช้ IF Statement นั้นเอง เช่นว่า

         ถ้า มีเงินมากกว่า 10,000,000 บาท แปลว่า  รวย
         ถ้า มีเงินน้อยกว่า 10,000,000 บาท แปลว่า เกือบรวย
       
   อันนี้เขียนให้ขำๆ กันเล่นครับ เพราะนิยามคำว่ารวยนั้น ต่างกันออกไปตามแต่ เราจะพอใจ คือ ข้อ การเลือก การตัดสินใจนี่ ข้อคือ 2.

         3.การทำซ้ำ หรือ Repetition จะทำให้ โปรแกรม มีความสามารถทำงาน ที่ต้องทำซ้ำๆ จนเสร็จ แทนคนเรา เช่นการจะให้เกรด เด็กทั้งนั้น 50 คน หากต้องเปิดโปรแกรมแล้วปิดโปรแกรม 50 รอบ ก็คงไม่ไหวใช่ไหมครับ แต่หากเปิดโปรแกรมรอบเดียว แล้วให้โปรแกรมทำงานให้เรา 50 ครั้ง แบบนี้ เราก็สบาย เช่น
เอาคะแนนคนแรกใส่ไปแล้วตามด้วยคนต่อไปๆ จนครบ 50 คน แล้วก็ เสร็จงานแบบนี้ และทำอย่างอัตโนมัติ ก็ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นอย่างมากจริงไหมครับ


          ว่ากันว่า โปรแกรมแทบทุกภาษาในโลกนี้จะมีรายละเอียดประมาณนี้ ดังนั้น การทำงานของโปรแกรมจึงคล้ายๆกัน หากภาษาอยู่ในระดับเดียวกัน สำหรับคนที่เคย ชำนาญภาษาใดมาก่อน จะเรียนอีกภาษาได้ง่ายมาก เพราะ เหมือนว่า เราคิดอะไร จากชนชาติไหน ก็คิดคล้ายกัน แต่ว่า การสื่อสาร ต้องเป็นภาษาในชาติของเขา พอมาเรียนภาษาต่างชาิติ ก็อาจจะยากหน่อย แต่ไม่นาน ก็จะทำได้ เพราะ ในภาษาคอมพิวเตอร์ นั้น ใช้เวลาไม่นานเลยครับ เพราะเป็นภาษาสั่งงานทำตามคำสั้ง ที่ไม่ได้ ต้องหัดพูดเป็นประโยค ยาวสั้นสมบูรณ์ อย่างภาษาของมนุษย์เราครับ

         ดังนั้นการหัดภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาที่สองจึงไม่ยาก เพียงปรับไวยากรณ์ภาษานิดหน่อยก็เริ่มได้แล้ว เพียงแต่ ที่ยากคือ การศึกษาจุดเด่น ลักษณะอะไรที่พิเศษของแต่ละภาษาต่างหากที่เป็นความท้าทายครับ จึงขอบอกว่า หากเรามีตารางในการหัดเขียนโปรแกรมที่ชัดเจน เราสามารถหัดเรียนไปพร้อมๆ กันได้เลย เรียนไปถึงไหนก็ให้คั่นเอาไว้เดี๋ยวจะงงครับ

         ผมเคยหัดพร้อมๆ กัน  4 ภาษามาแล้วครับ ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรครับผม แม้จะไปอย่างช้าๆ แต่ ช้าแล้ว ได้แก้ว ครับ :0)

         แต่หากจะถามผมว่า ภาษาแรกน่าจะเรียนภาษาอะไร ผมขอแนะนำเป็นการส่วนตัวว่า ภาษา ไพธอน หรือ Python ครับ เพราะมันเข้าใจง่าย ไวยากรณ์ เครื่องหมาย ก็น้อยมากๆ คือ เกือบจะเหมือนภาษาพูดที่สุดแล้วครับ ยกเว้นเรื่อง การย่อหน้า หน่อยเดียว ที่หากครูไม่สนใจ คุณก็อาจจะลงคลองไปเลย แต่ผมมีคลิปสอนครับ ดูที่ มุมขวาบนของบล็อกครับ ตามนั้นเลยครับ ง่ายมากกกกก

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)
       

Thursday, November 21, 2013

สวัสดีครับ วันนี้คุยเรื่อง เรียนเขียนโปรแกรมแล้ว ควรรู้อะไรบ้าง สำหรับน้องใหม่ครับ :0) ตอน 1/2

สวัสดีครับ

   ก่อนอื่นขอแก้ตัวก่อนว่า ที่ผมชะลอการอัฟเดตบล็อกนี้ไปค่อนข้างหลายวัน เพราะว่า ผมเกิดความสับสนนึกว่า เป็นอีกบล็อกหนึ่งที่ผมเขียน เนื่องจากเนื้อหาเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์เหมือนกัน เลยพลาดจนได้ครับ :0)

    วันนี้ก็ขอนำแนวคิดที่คิดจะเขียนไว้ตั้ง วันก่อนมาเขียนให้อ่านกัน นั่นคือ การเรียนเขียนโปรแกรมแล้ว เราควรเรียนรู้อะไร และ ควรทำอะไรได้บ้างครับ ดังนี้

    การเขียนโปรแกรม อย่ามัวแต่เลือกครับว่าจะเรียนตัวไหน ตัวนี้ดี ตัวนั้นไม่ดี จริงๆ แล้ว ภาษาโปรแกรมเขาก็คล้ายๆ กันหมดครับ เพียงแต่ จะมีเน้นว่า เป็นการเขียนโปรแกรมแบบ โครงสร้าง หรือ Structure Programming  และ OOP (Object-Oriented Programming) ก็เท่านั้นเอง โดยมี ภาษาที่อยู่ตรงกลาง อย่าง C++  ก็มีครับ คือ จะเขียนแบบ C ธรรมดา ก็ได้เช่นกัน

    หรือเอาแบบแรงๆ อย่าง Java นี่ก็ได้ ขนาดโปรแกรม แรก ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ให้แสดงผลว่า Hello, World ก็เข้า Class กับ Method กันแล้ว คือ OOP ชัดจ๋ามาเลย ก็มีครับ

    นอกจาก C++ แล้ว มีโปรแกรมอื่นไหม ที่เราคุ้นหูกัน ก็นี่เลยครับ Python นี่ล่ะครับ ถ้าเอากันจริงๆ แล้ว มีคนบอกว่า Python มีความเป็น OOP มากกว่า C++ นะครับ ทำไม? ลองถาม อาจารย์ กู กันเองครับ หมายถึง google.com นั่นเอง

    ยังมีอีกหลายภาษา ที่ผมไม่กล่าวถึงก็ขออภัยบรรดาเซียนๆ ด้วย รวมทั้งน้องใหม่ ที่กำลังเรียนภาษาใดอยู่ก็ตาม ผมขอนับถือ ทุกการตัดสินใจครับ เพราะ

              "จะเรียนภาษาอะไร ขอให้รักจริง เรียนรู้ให้สุดกำลัง และยั่งยืนครับ"

    ทำไมผมกล่าวเช่นนั้น นั่นเพราะว่า ผมสังเกตุจากการที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมาก่อน และผมว่า การที่เรากล้าฝึกภาษา โดยกล้าคุยกับคนนานาชาติ ตอนเรียนนั้น มันทำให้เห็นเลยว่า เรามีการพัฒนา แบบ รวดเร็ว

   ภาษาคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันครับ คุณคิดว่า ภาษา COBOL นี่เก่าใหม่ แน่ละ เก่าสุดๆ คุณคิดว่า ภาษา Fortran นี่เก่าใหม่ เก่าอย่างมาก แต่ทราบไหมครับ NASA ยังใช้อยู่ และ COBOL ก็ยังมีใช้ในภาคธุรกิจเหมือนเดิม ล่าสุดเหมือนมีคนเรียนเพิ่มขึ้นด้วย ทำไมครับ นั่นเพราะ 2 ภาษานี้ ออกแบบมาเพื่องานที่เฉพาะเจาะจง ครับ COBOL เน้นด้านธุรกิจ Fortran เน้นด้าน คำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ ครับ

    ขณะที่ภาษาสมัยใหม่นั้น อย่าง C, C++, ADA, Python, Ruby, Java และือื่นๆ นั้น จะเป็น General Purpose Programming เสียส่วนใหญ่ จริงอยู่ ตอนนี้ Java มี ทั้ง ME,SE,EE แถม ยังมี Embedded อีกต่างหาก แต่ก็ยังทิ้งความเป็น General ไม่ได้ครับ คือทั่วไป ครอบคลุมน่ะครับ นี่ยังไม่นับตระกูล Visual ต่างๆ อีกนะครับ ที่เน้นทำงานบน Windows

    แนวทางในการเรียนรู้ ควรเป็นแบบนี้ครับ

1. อย่ากลัวที่จะเริ่ม ความยากของการเริ่มหัดเขียนโปรแกรมก็มีดังนี้
     
      -คิดว่าตัวเองทำไม่ได้
      -ไม่รู้จะหาบทเรียนที่ไหน (ผมทำคลิปให้เรียนแล้วนะครับ :0) )
      -เริ่มยังไง งง
       และอื่นๆ

     การเริ่มเขียนโปรแกรม นี่มันมีจุดอ่อน ร่วมอยู่ 1 ข้อคือ หนังสือ หรือ ตำรา แม้กระทั่ง ระบบสากลนั้นหลายเล่ม นึกเอาเองว่า คนเพิ่งเริ่มต้องรู้เอง ว่าจะหา ตัว Compiler หรือ Interpreter ที่ไหน บางคนซื้อหนังสือ มาตั้งหลายร้อย มั่นใจมาก พอมาอ่าน ก็งง
                      "ตำราเขาบอกว่า ต้อง คอมไฟล์ แล้ว อะไรคือ คอมไพล์ หว่า"

     นี่ล่ะครับ หญ้าปากคอกแท้ๆ และนี่คือ จุดอ่อน ที่ทำให้หลายคน ขยาดไม่อยากแตะหนังสือการเขียนโปรแกรม ครับ

     จีงต้องบอกไว้ตรงนี้เลยครับ เอา 3 ภาษานะครับ ก่อนคุณจะซื้อหนังสือ หรือ ตำรานะครับ ต้องติดตั้ง ตัว Compiler (+ตัว Editor เอาไว้เขียนโปรแกรมนั่นล่ะ จะมาด้วยกันเลย ) ดังนี้

1. ภาษา C, C++ แนะนำให้ใช้ ของ Classic ตัว Turbo C++ 3.0 ครับ แม้จะออกมาก่อน มาตรฐาน ภาษาแต่มันคือ ความคลาสิคครับ จะใช้ Eclipse หรือ Netbeans ก็แล้วแต่ครับ แต่ผมชูตัวนี้
เพราะว่า หากเราเขียนบน Turbo C++ 3.0 ได้ มันจะได้ประสบการณ์เพิ่มครับจากการที่ต้องดูแล Code ด้วยตนเอง และเราจะมาใช้ ตัว Eclipse กับ Netbeans ทีหลังก็ยังได้ครับ  อีกประการ เรื่องกราฟิก ความเจ๋งอื่นๆ อย่าได้ดูถูกนะครับ หากคุณยังไม่รู้จัก QT ที่เป็นตัวช่วยเรื่อง กราฟิก ทำให้ C++ ทำกราฟิกไม่แพ้ใครก็แล้วกัน คือหัดจากตัวภาษาชั้นสูง พื้นฐานแล้วหัดใช้กับ ตัวช่วย มันจะทำให้เรา ได้ฝึกอะไรเยอะกว่าครับ แต่ความเห็นของผม ไม่ใช่ว่าต้องถูก 100 % นะครับ
 
     ไป Download ตัว คลาสิคไ้ด้ที่ http://konthaihappy.com/turboc.zip ครับ

 Note: เชื่อไหมกว่าผมจะหาเขาพบ อย่างนานครับ ไม่ทราบว่าทำไม หรือเพราะของเก่าล่ะมัง :0)
         (กำลังจัดทำคลิปบทเรียนครับ ลองดูตำแหน่งเดียวกับของ Python)



2. ภาษา Python ก็ไปหาตัว Interpreter ของเขาได้ที่ http://www.python.org/download ครับ หากจะเรียนตามคลิปที่ผมทำไว้ ก็ใช้ ของเวอร์ชั่น 2.x ครับ หรือ ตั้งแต่ 2.2 ไปถึง 2.5 สำหรับ 2.6 และ 2.7 นั้นให้ระวังเพราะชุดคำสั่ง print"ใส่ข้อความที่นี่" จะกลายเป็นฟังก์ชั่นไปเป็นที่เรียบร้อยคือ print("") คือคุณจะ Interpret ไม่ผ่านครับ หากพิมพ์ตามที่ผมสอนไว้ โปรแกรมจะไม่ทำงาน ถ้าคุณไม่เปลี่ยนตามที่ผมบอก ครับผม (มีคลิปบทเรียนที่ผมทำไว้ ดูด้านขวามือ บนๆ ของบล็อกนี้ครับ)

3.ภาษา Java อันนี้ สบายๆ ครับ คือ ของเขามาตรฐานสูงอย่างมาก เพราะ มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ ลุยเข้าไปวงการ Hardware อีกต่างหาก มี Device ทั่วโลก เช่น มือถือ เราเตอร์ และอะไรก็ตามที่มีชิปคอมพิวเตอร์ฝังในวงการ ไม่ว่าจะวงการไหน ใช้ Java ไปแล้วกว่า 3000 ล้าน Device ด้วยกัน ต่อไป Java คงยึดโลก ล่ะครับ ตอนนี้ แพ้ก็แต่ พี่ใหญ่ C กับ C++ เท่านั้น ต้องรู้ครับ ภาษาเหล่านี้
(กำลังจัดทำคลิปบทเรียนครับ ลองดูตำแหน่งเดียวกับของ Python)
   
       ภาษานั้นคล้ายกับ C และ C++ ตรงที่ มีเขียนแล้ว ย้ายจากระบบปฏิืบัติการหนึ่ง (O.S.) ไปอีกที่หนึ่ง อาจจะไม่ต้องเขียนใหม่เลยแม้แต่บรรทัดเดียว คือเขียนที่เดียวแล้วปลอดภัยสบายใจไปแปดอย่างครับ หากมองความชัวร์ แล้ว Java อาจจะชัวร์กว่า นั่นเพราะ เขาทำงานบน JVM หรือ ระบบเสมือนของ Java
ที่ครอบ ตัว OS ไว้อีกที ดังนั้น Java ย่อมทำงาน บน JAVA Virtual Machine ได้แนบเนียนสนิทกว่า แน่นอนครับ แต่ C กับ C++ ไม่ได้มีตัว VM แบบนี้มาแต่แรก ครับ ก็น่าคิด จริงๆ ผมมองว่า JAVA หากพิจารณาตามนิยามแล้ว เขาอยู่ตรงกลาง ระหว่าง

       ภาษาสคริปต์ และ ภาษาโปรแกรมมิ่งจริงๆ นะครับ อ้าว ตกลง สีเทา หรือ ฮ๋ะๆๆๆ ไม่หรอกครับของเขาดีขนาดนี้

       หรือมองอีกแบบ JVM นั่นก็เหมือน Web Browser นั่นล่ะ จริงไหม? ลองคิดกันดูครับ ปรัชญาการทำงาน เหมือน IE, Chrome, Opera อย่างกับแกะเลยครับ ขอบคุณท่าน ทิม เบอร์เนอร์ลี (Tim Berners Leeไว้นะที่นี้ :0) หากไม่มีท่าน โลกนี้จะเป็นอย่างไรหนอ ท่านนี้เป็น บิดาของ WWW ครับ

        ไปดาวโหลดตัวพัฒนา Java ที่นี่ครับ  http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/jdk7-downloads-1880260.html

    (ณ. พฤษจิกายน 2556 นะครับ)  หากไม่พบ ก็หาด้วยคำว่า JDK ครับ
อย่าลืม กดยอมรับ  Accept License Agreement ด้วยนะครับ

 วันนี้ยาวไปหน่อย ขอจบไว้เท่านี้ก่อน เดี๋ยวมาต่อ ตอนที่ 2 วันหลังครับผม 

สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0) 
 

Tuesday, November 12, 2013

Python Programming by P'Ball: Lesson 4. IF Statement #2 and While Loop.

สวัสดีครับ

    คลิปบทเรียนนี้ จัดเต็ม 52 นาทีกว่า ๆ ทำไปได้ครับ :0)

 
          ในบทเรียนนี้ ผมได้บรรยายเพิ่มในส่วนของ IF Statement ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ เลือก หรือ ตัดสินใจให้กับตัวโปรแกรม โดยแสดงให้เห็นความสำคัญของการ จัดทำ IF Statement ที่ ครอบคลุม เพราะถ้าเราไม่สังเกตุ แม้โปรแกรมจะทำงานได้ ตามปกติ แต่ก็มีจุดที่ผิดพลาดอยู่ดี

          ขณะที่ ยังได้ แนะนำ เรื่องของการทำซ้ำ โดยใช้ ชุดคำสั่ง While Loop ซึ่งจะทำหน้าที่ ทำซ้ำให้กับตัวโปรแกรม เพื่อได้มาซึ่งผลของการคำนวณ ค่าตัวแปร หรือ อะไรอื่นใด ตามที่ตัวโปรแกรมต้องการ จากนั้น จึงคืนค่ากลับให้กับตัวโปรแกรมหลัก

         เมื่อนักเรียนได้ ศึกษา พื้นฐานการเขียนโปรแกรม เป็นขั้นตอน , การเขียนโปรแกรมเพื่อเลือกหรือตัดสินใจ โดย If และ การเขียนโปรแกรมให้ทำซ้ำ โดย Loop ได้แล้ว ก็นับว่า มีความสามารถพอที่จะเป็นโปรแกรมเมอร์ ที่พัฒนาโปรแกรมได้แล้วระดับหนึ่งครับ

    หมายเหตุ: บทเรียนนี้อธิบาย การวน Loop จาก While อย่างละเอียด ให้เวลาค่อนข้างมาก ซึ่งนักเรียนที่ ศึกษาโปรแกรมภาษาอื่นอยู่ ก็สามารถ นำไปใช้งานได้

                             

"สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย โดยคุณบอลล์"

เผยแพร่บทเรียน เมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 

 หมายเหตุ: สถานศึกษา, สถาบันการศึกษา, องค์กร และ หน่วยงานอื่นใด สามารถนำคลิปบทเรียนต่างๆ ของผม ไปใช้ในการศึกษาความรู้ตามเนื้อหาในคลิปนั้นๆ สำหรับหน่วยงานหรือบุคลากรได้ โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ  โดยอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ห้ามนำไป ทำประโยชน์ทางการค้าในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น 

         *** หน่วยงาน, องค์กร, สถาบันต่างๆ ที่มีการนำบทเรียนไปเผยแผ่ ตาม หมายเหตุ ข้างต้น ***
                         ขอความกรุณาแจ้งให้ผมได้ทราบ ที่ psirball@hotmail.com  :0)


  ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ครับ
คุณบอลล์ :0)

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้
สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0)

Monday, November 11, 2013

Python Programming by P'Ball: Lesson 3. Basic Calculation & IF Structure (or Selection)

สวัสดีครับ

      สวัสดีครับ
   บทเรียนนี้ ผมได้ทำการสอน เนื้อหาซึ่งสืบเนื่องมาจาก บทเรียนที่ 2. คือ การรับค่าตัวแปร ในรูปแบบ อักษรจากแป้นพิมพ์ หรือ สตริง เข้ามา จากนั้น โปรแกรม จะเปลี่ยนค่าตัวแปรดังกล่าวไปเป็น Integer หรือ จำนวนเต็ม ซึ่ง ในครั้งนี้จะเขียนโปรแกรม นำค่าตัวแปรเข้ามา 2 ค่า จากนั้น นำตัวแปร
ดังกล่าว มาบวกกัน และ ให้ผลการคำนวณ ออกมา ถือว่าเป็นการแนะนำการ คำนวณเบื้องต้น
     การบ้าน: ส่วนนี้ ให้ท่านลองทำการ  ลบ คูณ หาร หรือ ยกกำลัง ด้วยตัวท่านเองครับ โดยปรับตัวโปรแกรม จากที่ผมสอนได้เลย

     หลังจากนั้น ค่าจากการคำนวณ ผมจะเอาไปเข้า ในส่วน การเลือกสรร หรือ Selection หรือ บางที่เรียกว่า ส่วนในการช่วยตัดสินใจ หรือ Decision Making ซึ่ง ในที่นี้คือ การใช้ชุดคำสั่ง IF ของ Python นั่นเอง ครับ โดย เมื่อเรียนเสร็จ ท่านจะมีความสามารถสั่งการให้ โปรแกรม เลือกตัดสินใจได้ว่า    ถ้ามีเงื่อนไขตรงกับที่ตั้งไว้ จะต้องทำอย่างนี้ หรือ หากไม่ตรงตามเงื่อนไข ก็ต้องทำอีกอย่าง อย่างนี้เป็นต้น

   
                                                        

"สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย โดยคุณบอลล์"

 หมายเหตุ: สถานศึกษา, สถาบันการศึกษา, องค์กร และ หน่วยงานอื่นใด สามารถนำคลิปบทเรียนต่างๆ ของผม ไปใช้ในการศึกษาความรู้ตามเนื้อหาในคลิปนั้นๆ สำหรับหน่วยงานหรือบุคลากรได้ โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ  โดยอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ห้ามนำไป ทำประโยชน์ทางการค้าในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น 

   *** หน่วยงาน, องค์กร, สถาบันต่างๆ ที่มีการนำบทเรียนไปเผยแผ่ ตาม หมายเหตุ ข้างต้น ***
                         ขอความกรุณาแจ้งให้ผมได้ทราบ ที่ psirball@hotmail.com  :0)


  ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ครับ
คุณบอลล์ :0)
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2556

Tuesday, November 5, 2013

เล่าเรื่อง ภาษา C ในมุมมองที่ต่างออกไป

สวัสดีครับ

     หลายวันก่อนก็เริ่มรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาษา C เพิ่มเติม เพราะกำลังจะจัดทำบทเรียน ภาษา C ในรูปแบบคลิปนั่นเองครับ การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ก็ทำให้ได้เห็นที่มาที่ไปของภาษา C ในแง่มุมที่น่าสนใจจึงได้มีการนำข้อมูล ต่างๆ มาเล่าสู่กันฟังครับ

     โดยผมจะลองเล่า จาก หนังสือชื่อ The C Programming Language เขียน โดย Brian W. Kernighan, Dennis M. Ritchie ซึ่ง คุณ เดนนิส ริชชี่ นี่ล่ะ ที่คนไทยส่วนมาก รู้จักกันว่า เป็นผู้ให้กำเนิดภาษา C นั่นเอง
โดยเล่มนี้เป็น ฉบับแก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 2 ครับ มีการเพิ่ม เรื่องของ ANSI C เข้ามาเป็นที่เรียบร้อย

      ในทัศนะของผม ใครมีโอกาสก็น่าจะหา ฉบับแรกไว้ครอบครองเป็นของสะสม แต่ถ้าหากจะเริ่มเรียนภาษา C แบบจากตำราเก่า ล่ะก็ ผมว่า เล่มแรกนี่ อาจจะไม่คุ้ม เพราะ มีจุด ที่ยังไม่เข้ามาตรฐาน และ การบรรยาย ที่ไม่มากพออยู่ในเล่ม นั่นเป็นสาเหตุให้มี ฉบับแก้ไข ครั้งที่ 2 ออกมาครับ หากจะเริ่มให้เริ่มจาก Second Edition ดีกว่าครับ จะได้รู้เรื่อง ANSI C ไปพร้อมๆ กันเลย ครับ ซึ่งเล่มครั้งที่ 2 นี่ออกมาหลัง
จากเล่มหนึ่งออกไปเวียนว่ายใน โปรแกรมภพ อยู่ราวๆ 10 ปี เลยนะครับ

     ตัวผมรู้ C และ C++ มาก่อนหน้า ต่อมาก็ไม่ค่อยได้ใช้งาน และเรียนมากับทั้งการเรียน และ จากตำราด้วยตนเอง ตำราแต่ละเล่ม หนาราวๆ นิ้วกว่า ซึ่งมีเนื้อหา ยาว เยอะ และ มากจริงๆ ทำให้เคยเชื่อว่า C เป็นภาษาแห่งความเยอะในรายละเอียดจริงๆ แม้จะมีประสิทธิภาพสูงก็ตาม

     อย่างไรก็ตาม พอมาเจอเล่ม Second Edition ตกใจครับ ฉบับปี พ.ศ. 2531 ผมได้พบว่าทั้งเล่มมีเนื้อหาอยู่ 272 หน้าเท่านั้น จากที่เคยอ่านมาแบบ เป็นพันหน้า หรือใกล้เคียง ผมก็เลยคิดว่า อาจจะนำเสนอ การเรียนภาษา C ในสไตล์ ของต้นฉบับดีกว่าครับ โดยเน้นเนื้อหาที่ตรงจุด สำคัญ เน้นการเขียนโปรแกรม ให้เขียนโปรแกรม เป็น ดังที่ ผู้เขียนและผู้ให้กำเนิด ภาษา C ระบุเอาไว้ว่า

               "..C wears well as one's experience with it grows.."

      หรือ แปลเป็นไทย แบบ เชี่ยวๆ ก็ได้ว่า

"..ความเชี่ยวในภาษา (การใช้ได้ถึงจุด, ได้เหมาะสม ได้เต็มประสิทธิภาพ) ของ ภาษา C..พัฒนาขึ้นไปตาม ประสบการณ์ ที่โปรแกรมเมอร์ได้สั่งสมขึ้นมา..."  

        ดังนั้นทั้งจากการพัฒนา ที่เริ่มมี ANSI C เข้ามา และ จากการที่ผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์กับภาษา C ที่ตัวเองได้สร้างขึ้นมา มันก็ย่อมแน่ชัดว่า ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ย่อมดีกว่าครับ      

      สำหรับแนวทางในการจัดทำหนังสือ นั้น  ผุ้เขียนยังย้ำไว้ในส่วน Preface to the First Edition ว่า หนังสือที่ ทำขึ้นมานี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่อเป็น ตำรา เกี่ยวกับการแนะนำการเขียนโปรแกรม ที่ลงลึกไปในรายละเอียด แต่จะเน้นว่า ผู้เรียนควรมีความเข้าใจ เรื่องการเขียนโปรแกรมอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามผู้เขียนย้ำว่า แม้แต่โปรแกรมเมอร์หน้าใหม่ ก็อ่านหนังสือเล่มนี้ได้ ส่วนตรงไหนที่ยากหน่อย ก็ให้ลองปรึกษากับคนที่ชำนาญกว่าก็แล้วกัน

       คือทำให้เหมือนว่า นี่เป็นหนังสือของคนที่ไขว่คว้า ความรู้ ไม่ใช่ป้อนให้หมด เหมือนตำราทั่วไปครับ

      มาในส่วน Introduction ผู้เขียนและผู้ให้กำเนิดภาษา C ได้ให้ข้อคิด ไว้อย่างน่าสนใจในหลายประเด็น เช่นว่า

      -ย้ำกันชัดๆเลย ตั้งแต่ย่อหน้าแรกว่า ภาษา C เป็นภาษาที่เรียกว่า ใช้ได้หลากหลาย หรือ General-
        Purpose Language
   
      -ภาษา C นั้นจะไม่ยึดติดอยู่กับ ระบบปฏิบัติการแบบใดแบบหนึ่ง แม้ว่า จะพัฒนามาใช้ทีแรก บน
        UNIX ก็ตาม

      -แม้จะมีการเรียก ภาษา C ว่าเป็น ภาษาสำหรับการเขียนระบบปฏิบัติการ หรือ System Programming
       Language ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น เพราะมีการนำ C ไปเขียนระบบปฏิบัติการ และ ยังเขียน คอมไพเลอร์
       อีกด้วย แต่ผู้เขียนย้ำว่า C ยังไปได้สวย ในการถูกนำไปเขียนโปรแกรมหลักๆ ในหัวข้ออื่นๆ อีกด้วย

      -มีการให้เครดิตว่า C มีจุดกำเนิดจากตรงไหน (พวกเรานักเขียนบล็อก หรือ เว็บ หรือ ตามกระดาน ขอ
       ให้เริ่มเน้นเรื่อง เครดิตกันได้แล้วนะครับ อ้างถึงว่า เอามาจากไหน และ ใส่ลิงค์กลับมาที่ ที่มาด้วย
       จ้า) ผู้เขียนเล่าว่า แรงบันดาลใจมาจาก ภาษาชื่อ BCPL หรือ Basic Combined Programming 
       Language  สร้างโดย คุณ Martin Richards จาก มหาวิทยาลัย University of 
       Cambridge เมื่อปี ค.ศ. 1966 หรือ ปี พ.ศ.2509 

            ศึกษาเพิ่มเติม BCPL ที่ WIKI ครับ คลิกเพื่ออ่าน
     
       ทั้งนี้เป็นแรงบันดาลใจทางอ้อมครับ เพราะก่อนจะมาเป็น C นั้น ได้มีการสร้าง ภาษา B ขึ้นมาโดย
       โดย Ken Thompson ก่อน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจโดยตรงจาก BCPL ซึ่งได้สร้างภาษา B ขึ้นในปี
        พ.ศ.2513  จนเป็นที่มาของการพัฒนาต่อเนื่อง และเกิดมาเป็น ภาษา C ในที่สุด

         ภาษา B ในตอนนั้น พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานสำหรับ ระบบปฏิบัติการ UNIX ระบบแรกของโลก ที่
        ทำงานบน เครื่องคอมพิวเตอร์ DEC PDP-7



DEC PDP-7  ตัวจริงครับ


     -ภาษา C มีโครงสร้าง ที่เพียงในการคุมการทำงานของโปรแกรม  อันประกอบด้วย

            1. การดำเนินไปของโปรแกรม Sequence (เพิ่มเติมโดยกระผมครับ)
            2. ส่วนการเลือก หรือ ตัดสินใจ หรือ Selecting เช่น If, Switch
            3. ส่วนการทำซ้ำ Repetition  เช่น While, For และมี break กับ เพื่อออกจาก Loop ได้

     -การเน้นย้ำเรื่อง ความเป็น Portable Programs อันทำให้นำไปใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่างกันได้            ง่ายโดยไม่ต้องแก้ไขโปรแกรม หรืออาจแก้เพียงเล็กน้อย

    ทั้งหมดก็เป็นประเด็นคร่าวๆ ครับ

     พอหนังสือกล่าวส่วนนีหมดก็เข้าบทเรียนแรก ที่ หน้า 5  คือ CHAPTER 1: ผมลองนั่งนับหน้าอีกครั้งเล่นๆ (ว่างมั้งเนี่ย) พบว่า หากตัดส่วนที่เป็น APPENDIX ออกไปแล้ว เนื้อหาในการสอนภาษา C จะหมดเพียง หน้าที่ 189 เท่านั้น หากลบกันแล้ว ก็พบว่า มีเนื้อหา ในเรียนกันเพียง 184 หน้าเท่านั้น นี่ล่ะครับ ที่เรียกว่า แก่นของวิชา ภาษา C ไม่ว่าจะมาก จะน้อย จะเก่ง ไม่เก่ง สิ่งที่คุณเรียนไม่ได้มากกว่า ต้นกำเนิืิดทั้ง 184 หน้านี้เท่านั้น ส่วนหลังๆ เรื่อง Library และอื่นๆ จนจบเล่มนั้น คือ ประสบการณ์ครับ

      จงหมั่นศึกษา เขียนโปรแกรมตามบทเรียนไปเรื่อยๆ จงเรียนการโปรแกรมโดยการ เขียนโปรแกรม ครับนี่คือวิธีที่ดีที่สุด ความหน้า 184 หน้า หนาน้อยกว่า นิยาย ตั้งครึ่งๆ ดังนั้น จงมั่นใจครับว่า คุณก็เขียนโปรแกรมได้ครับ

      พบกันในบทความต่อไป

* ฝากไว้ให้ฮาเล่น: มีคนล้อเลียน ว่า ภาษา BCPL คือ Before C  Programming Language เข้าใจทำครับ

สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0)

                               

Monday, November 4, 2013

ความคืบหน้าในการ จัดทำ คลิปบทเรียน ของ ช่อง Thailand Computer Life Hack ในช่วงเดือน ตุลาคม 56 ที่ผ่านมา

สวัสดีครับ ผู้รักในศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิทยาการใกล้เคียงทุกท่าน

   วันนี้ก็ถือโอกาสเขียนรายงานสรุป ความคืบหน้าในการทำงานของผม ในด้านศาสตร์คอมพิวเตอร์ กันสักหน่อยนะครับ โดยจะเล่าสู่กันฟังว่า หลังจากที่ได้เปิดตัวช่วงครึ่งหลังของ เดือน ตุลาคม พ.ศ.2556 ที่ผ่านมานั้น ว่าผมได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง

    1.ได้มีการจัีดทำคลิปเปิดตัว ช่องโทรทัศน์ บน Youtube.com ไปเรียบร้อยแล้ว ในชื่อว่า
        Thailand Computer Life Hack

    2. ต่อเนื่องกันมาก็ได้เปิดช่วงรายการ Thailand Computer Chronicles ขึ้น เพื่อนำเสนอ ประวัติ ความ เป็นมาของคอมพิวเตอร์ โดยเน้นยุคร่วมสมัย ไล่มาจนเข้ายุค อินเตอร์เน็ต และ จวบจนเวลาปัจจุบัน (ลองบันทึกรายการแล้ว พบว่า นี่งานช้างครับ ต้องค่อยๆ ทำ เดี๋ยวปล่อยไก่ได้ง่ายๆ)

    3. ได้มีการทดลองลง เคล็ดลับ แนวคิด เรื่องการทดลอง จัดทำหลายๆ ลักษณะทางคอมพิวเตอร์ เช่น การลงภาษา C ทำอย่างไร, หา Path ของโปรแกรมบน Windows ได้ที่ไหน, การเขียน Batch Files         เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์(ของดีที่โลกลืม) และอื่นๆ เพื่อลองฝีมือ ศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ ในการจัดทำบทเรียนที่จะตามมา

    4. หลังจากลองมาหลายแบบ ตั้งแต่ บันทึกวิดีโอหน้าจอ โดยโปรแกรมตัวเล็กๆ ตัวใหญ่ ใช้การเขียเล่าเนื้อหาบน Notepad ซึ่งทำได้ดีนะครับ ประหยัดเวลา (ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของคนไม่มีเวลาหรือกล้องครับ) มีคนทำมากเหมือนกัน ทำได้แล้ว ก็อุ่นใจ เพราะ ความยากอยู่ที่จะเริ่มอย่างไรนี่ล่ะครับ พอทำได้แล้วก็มั่นใจมากขึ้น
        จากนั้นผมก็ลองทำอะไรเล่น เพียงแค่คิดเล่นๆ เพราะไม่คิดว่า คุณภาพของภาพจะดีนัก ลองเล่น กล้องวิดีโอ แบบ SD ยังไม่ถึง HD ด้วยซ้ำ มาลองอัดดู ก็ของมีราคา มียี่ห้อหน่อย พออัดพยายามลืม ความสมบูรณ์แบบที่ศึกษามา ว่าต้องจัดแสง ต้องนั่นต้องนี่ เพราะหากติดอยู่ใน ตะข่ายความคิดพวกนี้ ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้วชีวิตนี้   มันมาตรงกับช่วงผม อายุได้ 41 ปี พอดี เกิดตกผลึกความคิดว่า


                            "เราไม่ต้องเป็นอะไรบางอย่าง เพื่อจะทำอะไรบางอย่าง"
                               We, no need to be something for doing something.

                                                                                                     โดย คุณบอลล์
                                                                                                     บล็อกเสียงจาก Admin

    หมายเหตุ: โปรดใช้แนวคิดนี้ในด้านดี มีประโยชน์ต่อ ตัวเรา ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน และสร้าง
                       สิ่งดีๆ ให้กับโลกและสังคมเท่านั้น



            พอตัดเรื่องไร้สาระออกไปได้ ก็เริ่มลงมือทำ เออ ภาพมันออกมาคมเหมือนกัน คือต้องปรับแสงเป็นครับ ผมอัีดในห้องพัก จะไปไว้ใจโหมด อัตโนมัติไม่ได้ ก็เห็นว่า แสงมันผิด ก็ปรับสิครับ มันปรับแสงแบบที่เขาเรียกว่า White Balance แป๊บเดียว แสงสีธรรมชาติ ไม่ขัดตาก็มาแล้ว อัดออกมาก็ชัดสิครับ

             เอาไปขึ้นเน็ต Youtube.com ลุ้นแทบแย่ เฮ้ย ออกมาดีเกินคาด แต่สีมัน ยังทึมๆ ก็ไล่ๆ ดูพบ ตัวช่วยเรื่องสี ลองปรับดู เรียบร้อย สีสันเหมือนจริงและ สว่างขึ้น ทันตา แบบนี้ก็มันส์ สิครับ กะว่าจะลองเฉยๆ คราวนี้ เลยทำมันจริงๆ เลย ลืมเืรื่องบรรยายแบบ Notepad ไปเลยครับ

  5. ลงมืออัดคลิปบทเรียน ภาษาแรก ภาษา Python คลิปแรก ยังสั่นๆ ครับ แต่อาศัยว่า ค่อยๆ พูด ไปเรื่อยๆ พยายามลดน้ำที่ท่วมทุ่ง เอาแต่ผักบุ้งมาล้วนๆ ปรากฎว่า ออกมาใช้ได้ นะครับ คลิปแรก ปรับแสงกันอีก แล้วก็ คราวนี้ ได้ Know How เรียบร้อย ก็ฉลุยครับ ผมก็อัดมาเรื่อย ตอนนี้ ได้ 3 บทเรียนแล้ว

     ในอีก ไม่เกิน 2 สัปดาห์จากนี้ จะเริ่มอัดบทเรียน ภาษา C และ C++ แยกกันนะครับ ไม่แน่ใจว่า มีเวลาเพียงใดครับ แต่จะลองดู ตอนนี้ก็ค่อยๆ จัดทำไปครับ ยังมีอะไรอีกมากที่วางแผนเอาไว้ พบกันในบทความต่อไปครับผม


สวัสดีครับ
คุณบอลล์

Wednesday, October 30, 2013

คุยเรื่องการจัดทำ บทเรียน การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ สนุกๆ ครับ

สวัสดีครับ

  แฟนๆ บทความของผมคงได้เห็น คลิปบทเรียน ภาษาไพธอน ของผมกันแล้วนะครับ รวมทั้งคลิปบทเรียนอื่นๆ ด้วยซึ่ง ผมนำเสนอผ่าน ช่องรายการ

   "Thailand Computer Life Hack" โดย พี่บอลล์ ครับ

  ผมเชื่อว่า มีหลายท่านอยากรู้ว่า ผมใช้อุปกรณ์อะไรในการอัดรายการบ้าง จริงๆ แล้วไม่ใช่อะไรที่ซับซ้อนเลย ที่ผมมาเขียนบอกไว้นี่ก็เพราะ เผื่อท่านทั้งหลาย อาจจะ มันมือ อยากจะลองทำรายการบน Youtube.com กันบ้าง จะได้ ศึกษาไว้เป็นแนวทางครับ

  อุปกรณ์ในการจัดทำรายการ มีดังนี้

1.กล้องวิดีโอ 1 ตัว คุณภาพดีหน่อย ครับ

     ผมคิดว่า ตอนนี้กล้อง ดิจิตอลส่วนมากมี Mode วิดีโอกันหมดแล้ว คุณภาพก็พอรับได้ สามารถใช้ได้ครับ ไม่ต้องไปรอซื้อของแำพงๆ จนหมดโอกาส สร้างอะไรดีๆ
กันไป เพียงแต่ เรื่องความไวแสง คุณภาพของภาพ อาจจะอัดรายการกัน ในกลางวันจะดีกว่ากลางคืนเพราะแสงจากภายนอกช่วยให้ภาพของคุณ ชัดขึ้นได้
   
    อย่างไรก็ตาม เมื่อเรา อัฟโหลดขึ้น Youtube ไปแล้ว เขามีตัวตัดต่อให้เสร็จครับ เราไปเติมแสง สี เอาทีหลังได้ ก็ช่วยผมไว้หลายคลิป เพราะขนาดกล้องดีๆ แสงไม่ค่อยพอ อัดตอนดึกๆ ก็จัดแสงเสียใหม่ ชัดเลยครับ

2. มุมมองต่อตัวเราเอง
 
    คลิปน่ะอยู่ไปอีกนาน ผมอัดไป สักพักก็ไปโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย จะดูดีกว่าครับ แต่สไตล์ใครสไตล์มัน ตอนนั้นมันยาวเกินครับ เลยโกนออก ผมเผ้าก็หวีให้ดีๆ ครับ แต่งตัวให้ดู สุภาพ ก็่น่าจะผ่านแล้ว

3. คุณภาพเสียง
    อันนี้ ต้องซ้อมอย่างเีดียว ของผมคลิปแรก ๆ ผมซ้อม ทั้งดูมุมกล้อง เสียง และการไหลลื่นของรายการตั้ง 4-5 รอบ ครับ จนมารู้ว่ากล้องเรามันดีเกิน ไมค์ไวเสียงมาก ฮา ก็ลองซ้อมหน่อยก็ดีครับ

4.แบตเตอรี

   ไม่อยากอัดรายการเสียเวลาฟรี ต้องดู 2 อย่าง อย่างแรก ไฟจะหมดหรือยัง อย่างที่สอง กด Record จนเห็น รูปวงแดงหรือยัง หากไม่เห็น ก็อัดฟรีครับ ระวังๆ

5.กล้องควรนิ่ง

    ผมเล่นกล้องครับเลยสบายไป เพราะขาตั้งกล้อง ไตรพ็อด มีพร้อมครับ จะปรับมุม หมุนซ้ายขวา ก็นิ่งมาก สุดยอดครับ ลงทุนหน่อย

6. ซ้อมประเด็นหลักก่อนอัดรายการ

    อาจจะเห็นว่าผมก็พูด อย่างใน ช่วง Thailand Computer Chronicles ไปเรื่อยๆ แม้ไม่ได้มีสคริปต์ แต่สคริปต์ อยู่ในความจำครับ คือ วางแนวทางไว้ก่อนว่าจะพูดอะไร เน้นอะไร พอพูดไปก็เอาประสบการณ์
กับ สคริปต์ในศรีษะ มาประสานกันครับ จะทำให้ อัดผ่านได้ง่ายๆ

7.เอาจริง

     คือต้องรักจะทำมันครับ หยุดพักได้ นานได้ แต่ต้องกลับมาครับ เขาเรียกว่า มี คอมมิทเม้นต์ ข้อผูกพันของตัวเองว่า ตรูข้าจะทำให้ได้ ทำให้ดี รักจะทำ ครับ ของแบบนี้จึงจะเกิดขึ้นได้ อย่างวิชาการเขียนโปรแกรม 1 ภาษานี่ หากใครเรียนมาก็รู้ว่า มีเวลาคนละเทอม ราวๆ 4 เดือน ยังอ่านกันไม่หมดนะครับ นั่นแค่อ่าน แต่นี่ทำรายการ คนละอย่างกันเลย ต้องมีความตั้งใจ และ ใส่ใจครับ

8.ใจสบายจึงทำ

    คือ เน้นตอนเราสมองโล่งหน่อยครับ ความรู้ดีๆ จะได้ออกมามากๆ ครับผม

9.ใช้ลูกเล่นใน Youtube เสริมค่าของคลิปบทเรียน

     ลูกเล่นพวกนี้ Advanced และ ยังดูดี เช่นการขึ้นหมายเหตุ เป็นอักษรข้อความอธิบาย ในบางจุด บางประเด็น แล้วสักพักก็หายไป และอื่นๆ เอามาใช้บ้างก็ดีครับ ใส่เพลงลงไปบ้าง ในจุดทีีเหมาะสม ก็จะทำให้ คลิปคุณดูดีขึ้น แ่ต่นี่ไม่ใช่ประเด็นหลักครับ

10. ความถูกต้องของความรู้

      แม้เราจะทำแบบสมัครเล่น แบบจริงจังหรือ เล่นๆ ก็ตาม ก็ขอให้ ให้ความรู้ให้ชัดเจน ถูกต้องที่สุด จุดไหนผิดพลาด ก็กลับไปแก้ไขได้ครับ

    โดยรวมแล้วผมก็ใช้แนวทาง 10 ข้อนี้ในการจักทำคลิปในรายการของผม ครับหวังว่า จะพบท่านทั้งหลาย นำเสนอความรู้ของท่านบ้าง บน Youtube นะครับ ช่วยกันสร้างคลิปความรู้ดีๆ ไว้ให้เยาวชน และ คนไทยได้อ่านกันครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์

Friday, October 25, 2013

สารคดี ที่เล่าเรื่อง BBS เครือข่ายอันเลื่องชื่อในอดีต ที่น่าสนใจ

สารดีน่าสนใจ เกี่ยวกับ BBS ระบบเครือข่ายที่มีมาก่อน อินเตอร์เน็ต

บันทึกย่อจาก Admin :

         จากวันเวลาในอดีตที่ BBS (ฺีBulletin Board System) ที่มีโหนดมากถึง 150,000 แห่งก่อนยุค Internet มาเป็นเหลืออยู่ใน สหรัฐหรือ อเมริกาเหนือราวๆ หลักร้อย จากความรุ่งเรืองของ สาขาหนึ่งในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ของโลก สู่การคืนกลับสู่สามัญ เราจะละทิ้งประวัติศาสตร์เหล่านี้ไปได้หรือ พบกับการรวบรวมสารคดี ดีๆ ได้ในหัวข้อนี้ครับ "BBS เครือข่ายอันเลื่องชื่อในอดีต" 
  
      หมายเหตุสำคัญ:

           ขอขอบคุณที่มาของคลิปทั้งหมด ทั้งจาก ที่มาต้นฉบับและ Youtube.com ไว้ ณ. ที่นี้

   สวัสดีครับ
คุณ บอลล์  :0)

คลิป 1.
ค้นหาและนำเสนอโดย บล็อก "เสียงจาก Admin" ครับ

คลิป 2.


คลิป 3.

                                        

คลิป 4.

                                       

คลิป 5.


คลิป 6.

                                         

คลิป 7.

                                         

คลิป 8.


หมายเหตุ: จากการค้นคว้าพบว่า มีคลิปเพียง 8 คลิปครับ 

ที่มาดังปรากฎในคลิปครับผม
ขอขอบคุณ ที่มาของคลิปมาก ๆครับ

พิเศษ: อาจฟังไม่ทัน ขอให้ กดเข้าไปดูที่ Youtube เลย จากนั้นให้  Login และ กด 
ที่ลัญลักษณ์ ที่อยู่ระหว่างแถบสีแดง ที่ผมทำไว้ให้ดูในรูปด้านล่าง 
เพืออ่านจากการถอดเสียง ครับ 
 คุณจะเข้าใจเนื้อหาอย่างน้อยแบบกว้างๆ (แม้จะถอดเสียงไม่ถูกต้อง 100%) 
ไปพร้อมๆ กับคลิปครับ Youtube.com ช่วยเราสุดๆ 
แล้วครับ :0) ในการทำลายพรมแดนทางด้่านภาษา  สวัสดีครับผม 


ศึกษาความรู้ต่อเนื่อง:

   -BBS คืออะไร ที่มา http://th.wikipedia.org     ภาษาไทย
   -ฺฺBBS คืออะไร ที่มา http://en.wikipedia.org     ภาษาอังกฤษ
   
สวัสดีครับ 
คุณบอลล์ 

เรียนรู้วงการคอมพิวเตอร์ในอดีต Fidonet คืออะไร

ติดตามลิงค์นี้ครับ

    FidoNet เครือข่าย BBS ที่เลื่องลือในอดีต

คุณบอลล์ :0)

Wednesday, October 23, 2013

Python Programming by P'Ball, Lesson 2. Input & Putput

สวัสดีครับ

   คลิปบทเรียนนี้ จะเป็นบทเรียนที่พี่จะพาน้องๆ และ ผู้สนใจในการเขียนโปรแกรม ให้ได้เริ่มเขียนโปรแกรมแรก กันจริงๆ เสียที โดยเน้นการเริ่มเขียนโปรแกรม ก่อนการจดจำรายละเอียด ปลีกย่อยที่มากจนเกินไป ซึ่งเราสามารถค่อยๆ เรียนตามมาภายหลังได้ อันจะทำให้เราเกิดความสนใจในการเขียนโปรแกรม ที่มีความต่อเนื่อง และทันเวลา ก่อนที่เราอาจจะเบื่อ ในการเรียนโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์ ต่างๆ  พบกับการเรียนในบทเรียนนี้กันได้เลยครับ


สนุกกับการเรียนรู้ ภาษา Python นะครับทุกท่าน :0)

"สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย โดยคุณบอลล์"

 หมายเหตุ: สถานศึกษา, สถาบันการศึกษา, องค์กร และ หน่วยงานอื่นใด สามารถนำคลิปบทเรียนต่างๆ ของผม ไปใช้ในการศึกษาความรู้ตามเนื้อหาในคลิปนั้นๆ สำหรับหน่วยงานหรือบุคลากรได้ โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ  โดยอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ห้ามนำไป ทำประโยชน์ทางการค้าในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น 

   *** กรณีมีการนำไปใช้งานตาม หมายเหตุ ข้างต้น ขอความกรุณา 
          แจ้งให้ผมได้ทราบ ที่ psirball@hotmail.com 
          :0)

สวัสดีครับ
คุณ บอลล์ :0) 

Sunday, October 20, 2013

แวดวง Python ในระดับโลก กับ Jessica McKellar สาวน้อยไพธอน สุดยอดครับ

สวัสดีครับ

    เธอเป็น ไพธอน โปรแกรมเมอร์ ที่สามารถ และ ยังเป็นวิทยากร ที่เก่งกาจอีกด้วย ลองติดตามคลิปของเธอกันครับ



 ไม่ธรรมดานะครับสาวคนนี้

 สวัสดีครับ
พี่บอลล์ :0)
     

Python Programming by P'Ball, Lesson 1. Python Installation

สวัสดีครับ

    สำหรับคลิปนี้จะเป็นบทเรียนแรกนะครับ ในการเรียนรู้ ภาษา Python เนื้อหาของบทเรียน จะเป็นการแนะนำให้ผู้เรียน สามารถลงโปรแกรม Python (ตัวแปลภาษา) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองได้ และ เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเริ่มหัดเขียนโปรแกรม ในบทเรียนต่อๆไปครับ

  เชิญรับชมการสอนครับ


สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย โดยคุณบอลล์

 หมายเหตุ: สถานศึกษา, สถาบันการศึกษา, องค์กร และ หน่วยงานอื่นใด สามารถนำคลิปบทเรียนต่างๆ ของผม ไปใช้ในการศึกษาความรู้ตามเนื้อหาในคลิปนั้นๆ สำหรับหน่วยงานหรือบุคลากรได้ โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ  โดยอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ห้ามนำไป ทำประโยชน์ทางการค้าในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น 

   *** กรณีมีการนำไปใช้งานตาม หมายเหตุ ข้างต้น ขอความกรุณา 
          แจ้งให้ผมได้ทราบ ที่ psirball@hotmail.com 
          :0)

ขอบพระคุณครับ
คุณบอลล์ :0)  

Friday, October 18, 2013

เปิดตัว คลิป เส้นทางแห่งการเรียนรู้ กับ พี่บอลล์ ครับ สำหรับคนสนใจในการเขียนโปรแกรมและศึกษาหาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์

สวัสดีครับ

   วันนี้หลังจากทบทวนหลายรอบ ก็ตัดสินใจนำความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่หลายคนเรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ และความรู้รอบด้าน เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาบันทึกไว้ในรูปแบบ ของไฟล์วีดีโอ หรือ คลิป เปิดตัวให้ชมกันได้ ใน Youtube.com ครับ ถือว่าเป็นการริเริ่มทำในแนวทาง วิทยากรสอนความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มแรกๆ ของ ประเทศไทย บน Youtube.com ก็ว่าได้ครับ

    ก่อนอื่นผมขอแจ้งไว้ตรงไปตรงมาว่า ผมไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด ในการเขียนโปรแกรม ยังมีคนที่ เก่ง และสามารถกว่าผมอีกมากมายครับ เพราะปัจจุบัน แวดวงไอทีในไทยนั้นไม่ด้อยกว่าใครในภูมิภาค ทำให้มี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ และ สายอาชีพใกล้เคียง ที่เก่งกว่าผมมากมาย เพียงแต่ มีข้อเดียวที่ทำให้ผมแตกต่างคือ

    ผมชอบที่จะถ่ายทอดความรู้ครับ และผมก็ทำมาหลายปี และ ค่อนข้างนานปี เพียงแต่ผ่านระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การแชร์ความรู้ตามกระดานสนทนาในสมัยก่อน, การจัดทำเว็บไซต์, การเข้าโซเชียล เน็ตเวิร์ค จนไม่นานมานี้ ราวๆ 3 ปี ก็การเขียนบล็อก ที่ทำแล้วค่อนข้างได้รับการตอบรับที่ดี มีอยู่ 2-3 บล็อก ที่เปิดไม่นานก็มียอดคนอ่าน เกือบ 1 แสนครั้งแล้ว (ณ. ต.ค. 2556)

    ข้อมูลข้างต้นทำให้ผมได้ฉุกคิืดว่า สิ่งที่เป็นความรู้ ถ้าได้แบ่งปันออกไปจะเกิดผลกระทบ ที่ดี มากกว่า เสีย และ ยังเป็นการเพิ่งกำลังใจให้กับผู้คน ที่กำลังแสวงหาความรู้นั้นๆ อีกด้วย ผมจึงคิดว่า เมื่อเราทำในเวอร์ชั่น ตัวอักษรมีคนตอบรับเป็นจำนวนพอสมควร การทำเป็น วีดิโอ ก็ย่อมได้ผลตอบรับไม่ด้อยไปกว่ากัน และยังเข้าถึงได้ง่ายกว่า เพราะเห็นจริง ทำจริง ไปได้พร้อมๆ กันกับการสอน จึงได้ทำคลิปบทเรียนต่างๆ ขึ้นมาครับ ผมให้เวลาตัวเอง 12 เดือนจากนี้ไป เพื่อค่อยๆ สร้างบทเรียนดีๆ ให้เข้าที่เข้าทาง ผ่าน 1 ปีไปแล้วก็ถือว่า ตั้งช่องทีวี บน Youtube.com นี้เสร็จล่ะ ครับ จากนั้นก็เพิ่มเนื้อหาสาระอันหลากหลายกันต่อไปเรื่อยๆ ครับ






     บทเรียนก็จะเน้นไปทางด้าน การเขียนโปรแกรม ภาษา ที่น่าสนใจ เช่น ภาษา C, C++, Python และอื่นๆ โดยพยายาม ทำให้ได้ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 คลิป ต่อ ภาษา ครับ 1 ปี ก็น่าจะเกิน 100 คลิป และขอฝากไว้ให้เป็น ฐานข้อมูลความรู้ทางด้านไอที ชุดหนึ่งของไทยครับ

     ผมไม่ได้มุ่งหวังจะทำให้บทเรียน ตรงตามหลักวิชาการ 100% แต่มุ่งหวังให้ผู้เรียน มีความสุขจากการศึกษาด้วยตัวเองครับ เพื่อ มีส่วนเล็กๆ ในการช่วยพัฒนาสังคมวงการไอทีของไทย จากวันนี้ไปจนสู่อนาคตไม่มากก็น้อยครับผม

     อย่างไรก็ตามจะพยายามให้ความรู้อย่างครบถ้วน ในแต่ละภาษาครับ โดยในอนาคต ถ้ามีเวลาก็จะหมั่น Update เพิ่มในส่วนที่จำเป็น เป็นประจำครับ

 ขอให้ทุกท่านมีความสุขในเส้นทางแห่งการเรียนรู้ศาสตร์คอมพิวเตอร์ ครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)

Thursday, October 17, 2013

DOS ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า กับคำสั่งสนุกๆ ให้ใช้งานกันครับ

สวัสดีครับ

     ดูคลิปเลยดีกว่าครับ

     ขอบคุณครับ

คุณบอลล์
:0)

%SystemRoot% บน Windows นี่มันคืออะไรครับเฮีย ???

สวัสดีครับ

     %SystemRoot% มันก็คือ การอ้างอิง ถึง ตำแหน่งที่ ตัว Windows ตั้งอยู่จริงบนระบบนั้นๆ น่ะครับ
โดยส่วนใหญ่ จะเป็น

   c:\Windows

   ครับ

  เอาไว้ทำอะไร ก็เอาไว้รับมือกับพวก Dual-Boot นั่นเอง เช่นคนที่นึกสนุก ลง Windows ไว้ 2 ตัวขึ้นไปแบบนี้ ตัวที่ 2 อาจจะมี Windows อยู่บน Drive E:  เมื่อเราเปิดตัวที่ลงบน E: มาใช้งาน ก็ไม่มีปัญหา ทุกโปรแกรมยังเปิดใช้งานได้ ตามปกติ เพราะไม่ได้ไปอ้างไว้ว่า ต้อง c:\Windows เท่านั้น มันก็วิ่งบน E: หา Folder ชื่อ Windows แล้วไปหา ตัวโปรแกรมของมันได้เองครับ นี่ล่ะประโยชน์ของเขา

  เอ้่าเดี๋ยวไม่เห็นภาพ มาดูกันว่า เจ้า Notepad เขามีตำแหน่งแห่งนี้ใน Windows ที่ตรงไหน ตาม Path นี้เลยครับ

              %SystemRoot%\system32\notepad.exe

   ตามปกติ มันคือ c:\Windows\system32\notepad.exe นั่นล่ะ

  ตรงนี้มีข้อติงนิดหนึ่ง ไหนๆ ทำ Sys root มาแล้วน่าจะเขียนสั้นๆ ไปเลยเช่น  %sr% จะดีกว่านะผมว่า คือได้ประโยชน์กับการเขียนสคริปต์ บนวินโดว์ ที่ง่ายๆ ด้วยครับ

 เอ้าใครงงว่าไปเอา Path ของ Notepad ที่ไหน ก็ตามดูในคลิปนี้ครับ




สวัสดีครับ
คุณบอลล์
*** ความรู้น้อยๆ แต่จัดการความรู้เป็น
ก็เป็นองค์ความรู้ได้ คร้าบ :0)



Wednesday, October 16, 2013

คนธรรมดา ไม่ศึกษาเนื้อหาบางอย่างเหมือน เซียนคอม และ ในทางตรงกันข้าม

สวัสดีครับ

       เคยมีข้อสงสัย ไหมครับ ขณะที่เรายังเรียนสาย ไอที หรือ วิศวฯ คอม หรือ สายอื่นๆ ที่มีเนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์ เราจะเห็นเพื่อนๆ จำนวนหนึ่ง เขาจะถือหนังสือ เล่มเล็กเล่มใหญ่ ติดมือประจำ แล้วที่แปลกก็คือ หลายครั้งเป็นหนังสือจากสำนักพิมพ์ เดียวกัน หรือบางทีก็มีรูป สัตว์ แปลกๆ กิ้งก่า ก็มี บนหน้าปกอยู่หลายเล่ม  อันนี้ทางสายที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษนะครับ

       ส่วนสายที่เรียนเป็นภาษาไทย ก็มักจะนิยมแวะเวียนร้านหนังสือ ใหญ่ๆ หน่อย เดี๋ยวก็มีหนังสือคอมพิวเตอร์เล่มใหม่มาอีกแล้ว และ อีกแล้ว

      โดยสรุปคือ เพื่อนๆ ของเราเหล่านี้ จะมีหนังสือคอมพิวเตอร์ ติดตัวตลอด มันทำอะไรของมัน ปัจจุบันก็น่าจะเป็นแบบนี้ โดยในยุคของผม เมือสมัยอินเตอร์เน็ตเข้ามาในไทยใหม่ๆ นั้น เพื่อนๆ หลายคนเป็นแบบนี้ ทำไม

    เพื่อนส่วนใหญ่ที่เป็นแบบนี้ จะมีโอกาสได้เป็น Admin ของสถาบันครับ หรือ น้อยๆ ก็ ผู้ดูแลระบบตามศูนย์คอมฯ เล็กใหญ่ในสถาบัน ที่เรียน พวกนี้อ่านกันทั้งปี สักพักเห็นเปลี่ยนเล่มอีกแล้ว แรกๆ แค่นึกชม เออ มันเก่งเว้ย รู้จักศึกษาหาความรู้ นอกตำรา เพราะเนื้อหาที่เขาอ่าน ไม่มีในห้องเรียน

     ต่อมาก็ฉุกคิด อินเตอร์เน็ต เพิ่งเข้าไทย พวก Admin พวกนี้ มันสามารถสั่งหนังสือ เพื่อนำมาใช้ในการทำงานได้ แน่นอนครับ หนังสือหลายเล่ม พวกเขาได้อ่านแบบใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ จนมือพอง ในเวลาเดียวกันกับ ที่คนใน อเมริกา และ ยุโรป ได้อ่าน ออกปั๊บ อีก เดือนได้อ่าน มันสั่งหนังสือที่ห้องสมุดครับ พอมาถึงก็ยืมในนามหน่วยงาน เป็นเดือนๆ หรือ อ้างสิทธิ์ อาจารย์ยาว ทั้งปี

     หลายเล่ม ขนาดผมตามอ่าน แบบว่าล้ำหน้าเพื่อนๆ ยังมีร่องรอย ยับๆ และ ผ่านมาเป็น ปี ก็มี มันน่าไหม?

     เพื่อนๆ ผมหลายคนเห็นปกมันเป็นแบบ กิ้งก่า ลิง ม้าลาย อะไรต่อมิอะไร ก็หันหน้าหนี สาวๆ นี่ไม่อยากเข้าใกล้ หนังสือเหล่านี้ (บางคน) แต่ไอ้ปกแบบนี้ พื้นขาวๆ นี่ล่ะ แรงนักเชียว เพราะว่า มันอัดแน่นไว้ด้วย วิชาล้ำเลิศ ที่จะทำให้ ผู้อ่าน จบออกไปเป็นแกนสำคัญในการทำงาน กับระบบ UNIX หรือ Unix-like ให้กับประเทศไทย ในกาลต่อไป ซึ่งผมเชื่อว่า เพื่อนๆ เหล่านี้ของผม ทั้งพี่ น้อง ตอนนี้ รับใ้ช้ชาติ ดูแลระบบ UNIX กันเป็นแถว  แน่ใจได้อย่างไร?

      ก็สิ่งที่เขาศึกษา มันเป็นเนื้อหา ด้าน การเขียนโปรแกรม บน UNIX หรือ สคริปต์ก็มีครับ ตอนนั้น ไม่มีใครอยากไปเรียนเรื่องยากๆ แบบนี้ แต่ เพื่อนๆ ผมกลุ่มนี้เขา อ่าน และ ทำ กันเป็นบ้าเป็นหลัง เพราะ มันได้เป็น Admin ของ Server สถาบัน ได้สิทธิ เต็ม 100% เด็กอมมือที่ไหนก็รู้ว่า ต้องลองวิชากันใ้ห้กระจายครับ

      ขณะที่ผมและเพื่อนส่วนใหญ่ อยู่วงนอก ได้อย่างมากก็...มึงเพื่อนกู เอา โควต้า ไปเพิ่ม เท่านั้นเท่านี้ แต่ไม่ได้ เล่น สิ่งที่เรียกว่า CGI เลย CGI ก็คือ การทำเว็บให้เป็น อินเตอร์แอ็คทีฟนี่ล่ะครับ คือเขียน สคริปต์ ให้ รับข้อมูล User แล้วเอาไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลแล้วเรียกออกมาใช้ได้ มันคือ อะไรที่สมัยนี้ลองที่ไหนก็ได้ ตอนนี้ ง่ายกว่ายุคผมมากๆ

    ไอ้การที่ การเข้าถึง Server ได้ต่างกัน ทำให้คนที่เป็น Admin คือ อยู่ในตำแหน่งประกันเงินเดือนและรายได้ ฐานะในวงการอินเตอร์เน็ตไทย เป็นที่เรียบร้อย ตั้งแต่ก่อนจบ ถ้าไม่ใช่ เป็น Admin ขี้เกียจรับรองรุ่งแน่ๆ เพื่อนผมบางคน เป็นถึงระดับสูงๆ ในธนาคารบางธนาคารด้วยซ้ำไปครับ

    เพราะคนกลุ่มนี้คือ ชุดแรก ของประเทศ ไม่อยากจ้างฝรั่ง ก็ต้องคนกลุ่มนี้ครับ  ก็ยินดีกับเพื่อนๆ ด้วยครับ

   เพื่อนๆ ผมตอนนั้น เขาอ่าน หนังสือ พวก Ada, Python, Unix Shell, Kernel ,etc. พวกเราก็คิด จะอ่านไปทำไมเยอะแยะ เคยคุยกัน มันบอกว่า เอาไว้เขียนโปรแกรม คุมระบบอีกที ดูแลเองหมด เหนือยตาย แล้วพวกมัน ก็อ่านพวก Security ระบบรักษาความปลอดภัยเยอะมาก และบางคน ก็เคย Hack ระบบ ออกไปนอกสถาบัน จนโดน ผู้ใหญ่เรียกคุยมาแล้ว แต่ตอนนั้น มันได้รับเชิญ ให้ไปดูแลระบบ อ้่าว งง สิครับ

   จากข้างต้นเล่ามาให้สนใจเล่นๆ ครับ ไม่ได้ลงลึกอะไรนัก แต่ หากคุณเห็นคนกำลังถือ หนังสือ Python,Ruby, C for Unix ทั้งๆ ที่เพื่อนๆ ก็ใช้ Windows กัน ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า เฮ้ยเพื่อน จะไป Hack ใครเขาหรือเปล่า? ลองถามมันดูว่า เขียนโปรแกรม สคริปต์พวกนี้บนไหน Windows หรือ  Unix หากมันบอกว่า ไม่ใช่บน Windows มีลุ้นครับ เขาน่าจะเก่ง กว่าที่คุณรู้จักเขา เพราะคนธรรมดาๆ ที่ไหน จะไปนั่งเล่น พวก UNIX ขณะที่ Windows กดๆ จิ้มๆ ก็มันแล้ว ว่าไหม? ...ฮ่ะๆๆๆๆ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)




Friday, October 11, 2013

คนไอที แมร่งคุยยาก ลำบากจะคุยแล้วก็คุยกับใครไม่ค่อยรู้เรื่อง

สวัสดีครับ

     วันนี้ขอคุยเรื่องที่ ติดใจมานานพอควร เมื่อ พวกเราส่วนมาก มักจะเคยได้ยินมาว่า

  -คนไอทีมักจะคุยไม่ค่อยรู้เรื่อง
   -คุยยาก
     -ไม่มีมนุษยสัมพันธ์

   หรือไม่ก็ทำงานกับคนหมู่มากไม่ได้

 
    ผมคิดว่าเรื่องพวกนี้ เป็นปัญหาการบริหารครับ จากการที่ อาชีพไอทีนั้น เป็นอาชีพที่มีความต้องการทักษะค่อนข้างสูง การคุยเรื่องเนื้องาน จึงต้องมีคนที่มีความรู้พอควร มาคุยด้วย คุณเคยเจอแบบนี้หรือเปล่า

    -หัวหน้างาน พยายาม สื่อสารกับคุณว่า เขาต้องการอะไร อย่างนั้นอย่างนี้ เหมือนชี้นิ้ว แต่เขาหารู้ไม่ว่าในทางเทคนิค มันไม่ใช่แค่เรื่อง แนวคิด แต่มันมีเรื่อง การหาทางแก้ไขปัญหา หรือ Solution ซึ่งต้องใช้เวลา และ ต้องมีการตรวจสอบ

   -เมื่องานเกิดมีปัญหา เพราะไม่ได้ทำตามแนวทางการออบแบบซอฟต์แวร์ที่ควรทำ ปัญหาเกิดหัวหน้างานไม่ได้มาช่วยแก้ปัญหา เพียงแต่ถามอย่างเดียวว่า เสร็จยัง เร็วๆ หน่อย แบบนี้

  - หัวหน้างานส่วนใหญ่จะ ดื้อ อวดฉลาด ชอบทำเป็นรู้ในสิ่งที่ตัวเอง ไม่รู้อะไรเลย ทำให้คนที่ทำงานด้วยเอือมระอา จึงไม่อยากสื่อสารด้วย

  และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งท้ายที่สุดก็มาโยนปัญหาให้คนไอที อีักตามเคย เรียกว่า ซุกไว้ใต้พรม


 เชื่อผมครับ หากคนไอทีคนนั้น ไม่มีสันดาน บ้า เขาคุยกับใครรู้เรื่อง แน่นอน ทำไม? นั่นเพราะว่า คนไอที เรียนมาในชั้นเรียนเหมือนกัน กับคนคณะอื่นๆ เขาจะไม่เคยคุยกับเพื่อนเลยหรือ หากเขาืทำงานกลุ่มไม่ได้ เขาจะจบการทำรายงานได้อย่างไร ทีบ้านเขาก็มีพ่อมีแม่ เขาจะไม่คุยกันเลยหรือ

  ผมถึงบอกว่า ก่อนมาว่าคนไอที คนที่ทำงานด้วยควรดูตัวเองก่อน เปิดใจกว้าง ลองพูดคุยทำงาน อย่าอวดดี อวดรู้ อยากรู้ก็ถาม อย่ามาลองดี ตรงไหนไม่ถูกก็บอกกัน ไม่ใช่ตีกันไว้ก่อนว่า ไอทีแมร่งคุยยากแบบนี้ ดังนั้น พวกคุณนั่นล่ะ พิจารณาตัวเองเสียก่อนครับ

   ระดับหัวหน้างาน หากคุยกับคนไอที ไม่ได้ ผมว่าคุณต้องกลับไปเรียนบริหารใหม่ เพราะในสาขาการบริหาร เขาสอนให้คุณทำงานได้กับคนทุกรูปแบบไม่ใช่หรือ?

   ระดับผู้บริหารระดับสูง การพิสจน้์ูว่าคุณเจ๋งไหม มีวิสัยทัศน์หรือไม่ ต้อง พิสูจน์โดยการบริหารไอทีครับไม่ใช่ไปวางกฎเหล็ก แต่เป็นเรื่องทำงานกับเขาได้ คนไอทีมีนิสัย คือ รักสงบ ชอบค้นคว้าและเรียนรู้ รับผิดชอบ ชอบการท้าทาย เป็นคนชอบตั้งคำถามบ้าง แต่ก็ตอบสิครับ จบ อยากให้ทำอะไร ก็พูดกันสบายๆ ก็จบ อย่าตั้งแง่เท่านี้เองครับ

   ผู้บริหารยังควร มีนโยบายในการบริหารไอที ลงมาให้หัวหน้างานด้วยเพื่อให้ทำงานเป็น ไม่ใช่สั่งอย่างเดียว ตัวเองไม่เคยมีแผนงานจะทำอะไร พอถึงเวลามาเร่งไอทีแบบนี้ใช่หรือ

    หลายคนที่ทำบริษัทพัฒนาโปรแกรม เล็กๆ จะไม่ค่อยมีการจัดระบบการทำงาน ทำให้มีงานการเขียนโปรแกรมที่เร่งตลอดเวลา ทั้งที่จัดระบียบได้ จัดได้จริงไหม จริงสิครับ เพราะบริษัทซอฟต์แวร์ใหญ่ๆ หรือ เล็กๆ แต่บริหารงานเป็นเขามีการวางแผนเป็นระบบครับ แล้วมันทำให้การรับงาน ไม่้น้อยกว่าเดิม หรือมากขึ้นแต่เหนื่อยน้อยลงอีกด้วย

     ผมเคยอ่านบทความในเน็ต บางเรื่องเรื่อง การที่คนไอทีลาออกไปทำงานทีอื่น แล้วให้คนอื่นมาเอางานคนที่ลาออกไปทำแทน เอางานคนที่ลาออกมาทำ เพิ่มอีกหลายพัน แต่ เจ้าของแมร่งประหยัดเงินเดือนของคนที่ลาออกไปเป็นหมื่นๆ  เหมือนเขาว่าฉลาดเหลือเกิน แต่ผมว่ามันน่าละอายครับ
  จะเห็นว่าในวงการต่างๆ น่ะ หากมองแต่ข้อเสีย มันหาได้ทั้งนั้นล่ะ เพียงแต่สายงานไอทีจะค่อนข้างโดดเด่นันในยุคนี้ ยุคหน้ายิ่งล้ำหน้า คนดังระดับโลกยังหันมาเรียนเขียนโปรแกรมแล้วก็แล้วกัน ดังนั้น อาจจะโดนหมั่นไส้ได้ง่าย เลยโดนคนต่อว่ามากหน่อย

     สรุปทางที่ดีที่สุึดคือเราควรให้โอกาสกันและกันให้มากๆ ครับ อย่าด่วนสรุปครับ อย่าฟังแล้วสักแต่เชื่อ เชือผมเถอะครับ ไม่ได้โม้...


สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)

Thursday, October 10, 2013

เรียนรู้ การเขียนโปรแกรม C/C++ เริ่มอย่างไร? ตามคลิปไปเลยครับ

สวัสดีครับ

  และนี่คือ การเริ่มต้นเขียน ภาษา C/C++ ที่คลาสิคที่สุดในโลก ทำไม?


สนุกกับการเขียนโปรแกรมนะครับ ทุกท่าน

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)
   

Wednesday, October 9, 2013

ช้าไปแล้ว ช้าเกินกว่าจะเป็นโปรแกรมเมอร์ ที่เก่งได้ คนไอทีหลายคนคิดแบบนี้

สวัสดีครับ

   สมัยผมเรียน ชั้นมัธยม จะได้ข่าวว่า นักเรียนไทยไปได้เหรียญทองแดง คอมพิวเตอร์โอลิมปิก จากการแข่งขันระดับโลก เขาอายุพอๆ กับผม และจริงๆ แล้ว เราได้เรียนปริญญาตรี ในสถาบันเดียวกันในภายหลังอีกด้วย เพียงแต่ ผมรู้ว่าเขาเป็นใคร ขณะที่เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ จำเขาไม่ได้ 

    สมัยนั้นการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องที่ใครๆ ก็ทำได้ เพราะยังมีข้อจำกัดเรื่อง ราคาเครื่อง ซึ่งคอมพิวเตอร์  PC ตั้งโต๊ะ ราคาขั้นต้นนี่ ก็ ราวๆ 3-4 หมื่นกว่าบาท ตอนนั้น Harddisk  700 M. นี่ ขอโทษนะครับ โคตรเท่  เด็กๆ สมัยนี้ ได้ยินคงตกใจจนหล่นเก้าอี้... จะพอได้ไง แค่รูปถ่าย ก็เต็มไป 5 รอบแล้ว ตอนนั้นใครได้ใช้ Windows 3.0 นี่อย่างเท่ครับ 

     ใครที่ใช้ DOS เป็น และใช้คล่อง จะเป็นเทพในสายตาเพื่อนๆ DOS คืออะไร ใครไม่ทราบ มันคือระบบ ปฎิบัติการชนิดหนึ่งครับ ใช้ในการจัดการไฟล์ ระบบ เหมือน Windows นี่ล่ะ แต่ว่า เป็น command line หรือ ต้องเขียนคำสั่ง บอกให้คอมพิวเตอร์ เข้าใจว่า จะให้เขาทำอะไร ใครอยากเห็น DOS เป็นอย่างไร ลองดูใน google ได้ ผมเชื่อว่า บางคนเพิ่งได้ยิน คำว่า DOS ก็วันนนี้ล่ะ

     เพื่อนผมคนที่กล่าวข้างต้น เก่งจริงๆ เขาเขียนภาษาที่ใช้งานบนเน็ตได้ และ มันใช้งานได้จริง ในสมัยที่ อินเตอร์เน็ต เิพิ่งเข้ามาในไทยได้ไม่กี่ปี ยุคแรกของไทยเลยครับ ยังได้ดูแลระบบของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ตอนนี้ก็ไปทำงานเป็นระบบอาวุโส ในบริษัทระดับชาติเป็นที่เรียบร้อย 

    หลายๆ คนอาจจะมีเพื่อนๆ ที่เก่งแบบนี้ ซึ่งก็หลากหลายกันไป แต่ ความเก่งของเขานั้น ไม่ใช่เรื่องที่เราสร้างไม่ได้นะครับ นี่คือจุดที่ผมอยากจะเขียนในบทความนี้

   -คุณเคยรู้สึกไหมว่า ไม่อยากหัดเขียนโปรแกรม เพราะ ดูว่า มันคงไม่เก่งเท่าคนอื่น
   -หัดเขียนไปก็คง ไม่ทำงานกับเขาไม่ได้
   -ไม่มั่นใจในตัวเอง เพราะคิดว่า เรามีความรู้ในการโปรแกรมน้อยเกินไป

   และอื่นๆ อีกมากไป

  บางคน คิดต่างออกไปอีกว่า การเขียนโปรแกรมมันยาก ยิ่งในไทยนี่ ลูกค้า ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการออกแบบ Software จะเอาโน่น นี่ นั่น ทำแล้วกลัวทำไม่จบ 

   แต่เขาอาจลืมไปว่า ลูกค้าจะยุ่งขนาดไหน มันก็คือ ประสบการณ์ครับ พอมากเข้า เราก็เจอมาหมดแล้วจะขนาดไหนก็รับไว้ และ หลายคนยังลืมไปว่า  โลกของการเขียนโปรแกรม มันคือการ Reuse ครับ

  Reuse ทั้งจากโปรแกรมเดิมที่ทำมาก่อน เอามาปัดฝุ่นได้ตลอด ปรับนั่น นี่ นิด ก็ใช้ใหม่ได้เลย แล้วมันก็ไม่ต้องไปแบกหาม มันแค่ Copy และ Paste จริงไหม ส่วนการทำ โปรแกรมระดับใหญ่ๆ แบบรับงาน อะไรพวกนี้ ความยากมันจะลดไปเรื่อยๆ ในเรื่อง การประดับประดา เช่นทำฟอร์ม แบบนั้น นี้ มีระบบนั่นนี่ จนเมื่อทำเสร็จ มันจะกลายเป็นมาตรฐานติดตัวเราไปเอง ไม่ยากอีกต่อไป แต่ ไอ้ที่ยากจริงๆ คือ การแก้ปัญหาของ งานที่ได้มา ในแบบ อัลกอริทึ่มต่างหากครับ โดยเฉพาะ หากมีเรื่อง ตัวเลขเข้ามา แต่มันก็ไม่ยาก หากเรา มีที่ปรึกษา หรือเราอาจถามจาก สังคมในเน็ตก็ได้ เอาเป็นว่า เชื่อผมครับ หากทำไปสักพัก ผ่านงาน ยากๆ ไม่เกิน 3-5 โครงการ ที่เหลือ ก็หวานหมูแล้ว ขอให้มันเป็น งานที่ท้่าทายหน่อยก็แล้วกัน

    ตัวผมเองผ่านการเผชิญการเขียนโค้ดมาแบบ ไม่มีหัวหน้างาน หรือ รุ่นพี่ ทำให้มีประสบการณ์ ตื่นเต้นตลอดเวลา ต้องคิดหา ทางออก ทางแก้ หรือ Solution เองค่อนข้างมาก เช่น ในสมัยที่ google ยังต๊อกต๋อย เด็กๆ เจ้านายเกิดอยาก จะโชว์ แผนที่บนเว็บ ทำให้ ผู้ดูงา่น ทึ่ง ต้องการให้ในแผ่นเพจเดียวกัน
กดบริเวณนี้ ไปที่นั่น กด อีกบริเวณไม่อีกที่ ผมคิดเอเอาไงดี จะใช้ Map หรือ มันยุ่งยาก ตอนนั้น ตัวช่วยทำเว็บยังหาได้น้อยมาก ดรีม วีพเวอร์ เหรอ ฝันไปเถอะ ผมเลยคิดหาวิธีอยู่พัก ก็ได้อะไรง่ายๆ สร้าง Table ขึ้นมาด้วย html ง่ายๆ แล้วพรางไม่ให้เห็น Border จากนั้น ให้ Cellpadding กับ Cellspacing เป็น 0
แล้วเรียกรูปขึ้นมา จัดหน้าให้อยู่ใน center จัด Tag <img src=""> คลุมรูปไว้ เรียบร้อยครับ สร้างความฮือฮาให้ ผู้มาดูงาน ได้พอควร ทั้งๆ ที่ผมใช้ สคริปต์ธรรมดาๆ นี่ล่ะ

   สมัยนั้นมันเป็นยุึดของการพึ่งตนเองค่อนข้างมากครับ แต่เราก็ไม่อยู่เฉย รู้จักตั้งคำถามนานาประการแล้วก็ ทดลองค้นคว้าเอง เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่ตกเทรนด์ครับ ผ่านไปราวๆ 3 ปี กับการทำงาน ตอนนั้นเป็น Webmaster ให้หน่วยงาน ผมก็พบว่า ด้วยความที่เราศึกษาตลอดเวลา ทำให้ เราสามารถนำความรู้ทั้งที่เรียนมา แลกเปลี่ยนค้นคว้ามา ตอบสนองงานได้แทบทุกรูปแบบ คือ หายกลัว การมอบหมายงานใหม่ๆ ไปเอง เพราะเหมือนที่ผมบอกไว้ช่วงต้น มันจะยาก จะเยอะขนาดไหน วันหนึ่ง มันก็มีการวนกลับมาทีเดิม คือ ครบรอบ มันไม่มีมากกว่านั้นครับ 

    ผมก็ตกใจ เมื่อนึกว่า ตอนนี้ เราค่อนข้างชำนาญอะไรที่เกี่ยวกับ เว็บเป็นพิเศษแล้ว สิ่งเหล่านี้มาจากประสบการณ์ครับ

    หากน้องๆ ลองมาเทียบกับผม น้องๆ อาจจะคิดว่า หากเรื่องทำ เว็บ นี่คงสู้พี่เขาไม่ได้ แต่อย่าเชื่อแบบนั้นครับ วงการอินเตอร์เน็ตไทย เพิ่งมาบูมราวๆ ปี ค.ศ. 1995-96 นี่เอง ก็ถึงตอนนี้มันก็ 17 ปีแค่นั้น ในเวลาไม่ถึง 20 ปี แบบนี้ มันไม่ได้ทำให้ใคร เทพกว่าใครหรอกครับ เพียงแต่เราต้องพื็นฐานแน่นๆ หน่อย คำสั่ง <tag> สำคัญ ควรใช้ได้คล่อง แบบนี้ แต่อะไรที่ลึกไปกว่านั้น ก็เปิดคู่มือได้ ไม่ผิด ที่สำคัญควรรู้ว่า แก้โค้ดด้วย html พื้นฐานได้อย่างไร ต้องทำได้ครับ 

    อีกอย่าง คนที่ทำเว็บมา 17 ปี หากมีคนพูดแบบนี้ ต้องถามเขาว่า พี่ยังโค้ดเองไหม ส่วนมากหากเป็น ผุ้จัดการ หัวหน้างานไปแล้ว จะสั่งอย่างเดียว แต่ไม่ได้ทำแล้ว ซึ่งผมว่า มากกว่าครึ่ง ลืมการเขียนเว็บเพจไปแล้ว หรือ ทำได้ไม่คล่องแล้ว นี่คือ น่าเสียดายครับ

   เพราะการทำเว็บ มันมีอะไรมากมายครับ มีเรื่องให้ศึกษาได้ไม่รู้จบครับ

  จึงต้องขอบอกว่า การเขียนโปรแกรม เรียนทันกันได้ครับ เพราะคนที่เรียนมาก่อน หากหยุด ห่างจากวงการและไม่ โค้ดอย่างสม่ำเสมอ กรณีนี้คือ ไม่ควรเกิน 6 เืดือน มักจะลืมเลือน ดังนั้น คนที่หยุดไปแล้ว สิ่งที่ยังอยู่คือ ประสบการณ์ ส่วนทักษะการโค้ด ต้องทำประจำครับ เราจึงสามารถหัดเขียนโปรแกรมได้ เริ่มเมื่อใดก็ได้ และสามารถเก่งได้ ใน 1-2 ปี ครับผม เชื่อผม คุณทำได้ครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ 




     

เริ่มบทความแรก บนโน้ตบุ้คเครื่องเก่า สวัสดีครับ :0)

สวัสดีครับ

    ผมทำบล็อกแห่งนี้ แน่ล่ะไม่ใช่บล็อกหลังแรก แม้กระนั้นผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น เหมือนเช่นทุกครั้งที่เปิดบล็อกหลังใหม่ เป้าหมายลึกๆ ที่อยากทำบล็อกซึ่งให้ความรู้ผู้คน มียอดเข้าชมสักหมื่นครั้งให้ได้ เมื่อหลายปีก่อน ได้ทำสำเร็จไปแล้ว ตอนนี้ก็เริ่มจะเข้าหลัก แสนครั้ง และมันกลายเป็น เกินความฝันไปมากเหลือเกิน เมื่อมองเห็นศักยภาพของ Blog ว่า มันมีคุณูปการต่อการถ่ายทอดความรู้เป็นอย่างยิ่ง ทำไม? 
   
   นั่นเพราะคนถ่ายทอดก็ทำงานง่าย เปิดบล็อก แล้วเขียน เสร็จแล้ว ก็เผยแพร่ คนที่มาอ่านก็เปิด อ่าน แล้วก็ จบ นี่คือข้อได้เปรียบของ Blog 

    ผมจึงได้ตั้งใจไว้ลึกๆ ว่า ต่อไปผมจะเป็นหนึ่งใน บล็อกเกอร์ คนธรรมดา ที่เป็นเจ้าของ Blogs ต่างๆ ที่มียอดรวม การเข้าอ่าน มากกว่า 1 ล้านครั้งให้จงได้ :0) ฝันให้ไกลไปให้ถึงครับ

    การจัดทำบล็อกแห่งนี้ขึ้น ก็เพราะว่า ต้องการถ่ายทอดประสบการณ์ที่พอมีอยู่บ้าง กว่า 16 ปี (พ.ศ.2556) ในเรื่อง การเป็นผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ (จากยุคเริ่มแรก ที่การทำงานส่วนมากมาจาก การเรียนรู้่เอง และ เรียนแบบครูพักลักจำ เป็นส่วนใหญ่), การเขียนโปรแกรม นานาภาษา (ทั้งภาษาเก่าและใหม่, ทั้งบน Windows, บน DOS และ Unix อีกเล็กน้อย), การดูแลบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์, พัฒนาเว็บไซต์ (ทั้งแบบในองค์กร และ ติดต่อจัดทำเองทั้งหมด แบบนอกองค์กร), การจัดการเว็บไซต์แบบ Interactive ทั้งโดยการ ใช้ สคริปต์ เช่น Javascript, PHP, Html เป็นต้น ตลอดจน การใช้ สคริปต์ในการจัดการฐานข้อมูล ที่เรียกว่า Web Database Programming เป็นต้น รวมไปถึง ภาษาโปรแกรมมิ่ง อย่าง C, C++, Basic และอื่นๆ อีกด้วย

     ผมต้องการถ่ายทอดความรู้ สิ่งที่พบมา ฝากไว้ให้สังคมไทย และ โลก (ถ้าต่อไป การแปลภาษามันสุดยอดกว่าตอนนี้ อย่างไรก็ขอบคุณ Google Translator ครับ..) ซึ่งเชื่อว่า มีด้านที่เป็นประโยชน์มากอยู่
เพียงแต่ต้องบอกไว้ก่อนว่า ผมไม่ได้ว่า อวด ว่าผมเก่งอย่างนั้นอย่างนี้นะครับ ต้องเข้าใจไว้ก่อนเลย

     อาจเรียกว่าเป็นการเล่าเรื่อง หรือการเล่าสู่กันฟังเสียมากกว่า

     หวังว่าคงได้รับการตอบรับจากผู้อ่าน เหมือนเช่นเคย

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)